วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

"โรคลมแดด" - ฮีต สโตรก (Heat stroke) โรคที่น่าสนใจ ในยุคโลกร้อน

ปัจจุบันโลกเราร้อนขึ้นมากจากภาวะโรค ร้อน(Global Thermal Warning) และดูเหมือนจะเริ่มแห้งแล้งมากขึ้น นั่นเป็นเพียงผลกระทบที่เราประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ในทางการแพทย์ เราก็กำลังกลับมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับโรคหลายๆ โรคที่มีผลจากการเพิ่มอุณหภูมิของโลกเรามากขึ้น Heat Stroke เป็นโรคหนึ่งที่หลาย ๆ คน กลับมาให้ความสนใจ โดยเฉพาะสภาพอากาศที่ร้อน ขึ้น ๆ ทุกวันนี้ โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนนี้

แต่หลายคนคงสงสัย เพราะอาจไม่เคยได้ยิน หรือเคยได้ยิน แต่ไม่ทราบความรุนแรงของโรคนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าการรายงานโรคนี้ว่าเสียชีวิตนั้นแทบจะเรียก ได้ว่าน้อยมาก ซึ่งเป็นเพราะเนื่องมาจากความจำกัดในเรื่องนิยามการวินิจฉัย และการรายงานโรคที่ประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง(Underestimation) อุปมาอุปมัยเสมือนภูเขาน้ำแข็งคือมีบางส่วนของโรคที่วินิจฉัยได้ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้เราวินิจฉัยเท่านั้น ในส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะเข้าข่าย หรือเป็นโรคนี้แต่เกณฑ์การวินิจฉัยไม่ตรงหรือ อาจไม่ทราบว่า Heat Stroke เป็นสาเหตุการตายครั้งนั้น ๆ

ที่มาของการมีชื่อเรียกหลาย ๆ ชื่อ เพราะเดิมเราแปลมาจากภาษาต่างประเทศ “Heat Stroke” Heat (n) ความร้อน อุณหภูมิร้อน Stroke(n) การเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน, การอุดตั้นหรืออุดกลั้นการไหลวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งถ้าแปลรวม ก็จะได้หลาย ๆ คำนิยามในภาษาไทย เช่น โรคลมร้อน/ ลมแดด/ โรคลมเหตุร้อน / โรคอุณหพาติ โดย มักกล่าวถึงการหมดสติที่มีสาเหตุมาจากอากาศ หรืออุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้น ชาวตะวันตกมักกล่าวว่าโรคนี้เป็นความหลากหลายของอาการในกลุ่มโรคเดียวกัน ซึ่งมีตั้งแต่น้อย จนถึงรุนแรง(Continuum of illness)


สาเหตุหลัก

คือ การที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้น(ภายนอก และภายในร่างกาย)ได้ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย อาจมีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงมาก เช่น

Heat edema --> Heat rash(Prickly Heat)-->Heat Cramp(ตะคริว)-->Tetany(เกร็งกระตุก คล้ายอาการชัก)--> Heat Syncope(เป็นลมหมดสติ)-->Coma (โคม่า ไม่รู้สึกตัว) จนถึงมีผลเสีย หรือกระทบต่อการทำงานของอวัยวะหลาย ๆ ระบบ(MOF; Multiple organ failure)

โดยภาวะ Heat Stroke นี้เป็นอาการที่มีความรุนแรงที่สุด เดิม เคยมีข้อบ่งชี้ในการวินิจฉัยคือ อุณหภูมิกายสูงกว่า 41.1 องศาเซลเซียส(106 องศาฟาเรนไฮต์) ภาวะเหงื่อไม่ออก(anhydrosis) และมีความผิดปกติทางระบบประสาท แต่ในปัจจุบันความรู้ทางด้านนี้มากขึ้น มีการแบ่งกลุ่มจากสาเหตุการเกิดได้ชัดเจน ทำให้ตัดภาวะเหงื่อไม่ออก(anhydrosis) ออกเป็นแค่ข้อบ่งชี้ที่เป็น criteria ประกอบในกลุ่ม Classical Heat Stroke เท่านั้น

ถ้าจะกล่าว ให้ง่ายขึ้นสาเหตุหลัก ๆ ก็คือการเสียสมดุลระหว่าง ความร้อนของร่างกายที่เพิ่มขึ้น(heat production) และ การกำจัดความร้อนออกจากร่างกาย(Heat dissipation) โดยที่ร่างกายม่สามารถลดอุณหภูมิความร้อนที่สร้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดโรคหรือพยาธิสภาพขึ้น ในสภาวะปกตินั้นแกนทั้งสองอันนั้นจะทำงานกันอย่างสมดุล ร่างกายจะสามารถกำจัดความร้อนลงก่อนจะถึงจุดวิกฤติที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้

เพื่อให้เข้าใจเรามาเข้าใจกลไกในการควบคุมอุณหภูมิที่ร่างกายไม่ให้สูงขึ้นเกินจุดวิกฤติ ดังนี้
เรา อาจเปรียบเทียบผิวหนังเราคล้ายเซ็นเซอร์ในการแยกแยะความร้อนเย็นโดยการรับ ความร้อนเย็นนี้จะส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทส่วนปลาย ผ่านไขสันหลังไปยังต่อมใต้สมองส่วนไฮโปทาลามัสส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่เป็น เหมือนเครื่อง Thermostat คอยจัดการกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือต่ำโดยส่งสัญญาณกลับไปยังระบบหรืออวัยวะ ต่าง ๆ ให้มีการปรับตัวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง ตั้งแต่ระดับเซลจนถึงระดับพฤติกรรมของมนุษย์

เช่น ในระดับเซลมีการสร้างโปรตีนบางชนิดขึ้นมาจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้น เช่น โปรตีนที่เปลี่ยนรูปชนิด HSPs (denaturing protein and cellular membrane ชนิด Heat Shock Proteins) และชนิดที่สำคัญคือ HSP-70 ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติสืบต่อกันไปผ่านระบบสารกลุ่ม Cytokines อื่น ๆ หลายประเภททำให้การทำงานของเซลแย่ลง ส่งผลผ่านระบบประสาทไปทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทั่วร่างกายปรับตัวรับความ ร้อนที่สูงขึ้น เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย การกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อ(sweat glands) หลั่งเหงื่อเพื่อระบายความร้อน ขับถ่ายระบายความร้อนมาทางลมหายใจ เหงื่อ ปัสสาวะ กระตุ้นไปยังศูนย์ควบคุมความกระหาย(Thirst Center)ให้เกิดความกระหายและดื่มน้ำเป็นปริมาณมาก กรระตุ้นให้หัวใจทำงานมากขึ้น บีบตัวมากขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงหลอดเลือดส่วนปลายให้พอกับการปรับขยายตัว (hyperdyanamic stage) และช่วยเพิ่มเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจ(Cardiac output)

นอก จากนี้ส่งสัญญาณไปยังตัวรับที่หน่วยกรองของไตให้เก็บน้ำและให้มากขึ้น เพื่อคงความสมดุลกับน้ำที่ช่วยระเหย ระบายความร้อนไปทางช่องทางอื่น ๆ ของร่างกาย ในส่วนของพฤติกรรมนั้นเป็นผลโดยอ้อม เช่น เราจะหาที่ ๆ เย็นกว่าเพื่อช่วยให้ร่างกายเย็นลง เช่นเปิดแอร์ อาบน้ำปะแป้ง เปิดพัดลม สวมเสื้อผ้าบางลง ลดกิจกรรมลง เป็นต้น


ปกติความร้อนในร่างการ เพิ่มขึ้นได้จากหลายสาตุ ความร้อนถูกสร้างขึ้นจากการทำงาน เผาผลาญจากขบวนการปฏิกริยาชีวะเคมีของร่างกายตามปกติ หรือเราเรียกว่า basal metabolic rate(BMR) หรือความร้อนถูกสร้างขึ้นตามปกติ 100 Kcal ต่อชั่วโมง(ราว 1 Kcal/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/ต่อชั่วโมง) ซึ่งเราอาจจะมองภาพไม่ออก ผมอาจจะกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ความร้อนในร่างกายจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง

แต่ หากกลไกในการกำจัดความร้อนของร่างกาย(Dissipation process)ไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือราว 5 วัน เราก็ถึงจุดเดือดแบบน้ำต้มสุกแล้ว ในทางตรงกันข้ามการออกกำลังกายหนัก หรือ strenous exercise จะสร้างความร้อนมากขึ้นในร่างกายประมาณ 10 เท่าของ BMR นั่นหมายความว่าหากมีทั้งสองปัจจัยร่วมกันอุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มสูงถึงจุดเดือดภายใน 9 ชั่วโมงเท่านั้นหากกายระบายความร้อนหรือการจำกัดความร้อนในร่างกายเสียหน้าที่ไป

การจัดกลุ่มโรค

เรา แบ่งภาวะ Heat Stroke ออกเป็นสามกลุ่มซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจว่าทำไม การเกิด Heat Stroke ถึงเกิดในอายุ กลุ่ม ชนชาติ เพศที่แตกต่างกันไป

1) การเกิด Heat Stroke จากการออกกำลังกายหนัก (Exertional Heat Stroke; EHS) กลุ่มนี้เกิดขึ้นกับกลุ่มที่มีร่างกายแข็งแรงมาก่อน เช่น เด็กโต วัยรุ่น นักกีฬา ทหารเกณฑ์ทีฝึกหนักในอากาศร้อนจัด ผู้ที่ไม่ฟิตแต่ออกกำลังกายหนักเกินตัว ซึ่งการเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัยภายนอกที่อุณหภูมิร้อนสูงร่วมด้วย

2) การเกิด Classical Heat Stroke (Classic Non-exertional Heat Stroke ; NEHS)
กลุ่ม นี้มักเป็นกลุ่มที่มีอายุมาก กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ผู้ป่วยที่ต้องมียากินประจำ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง คนแก่อายุมากซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนซึ่งไขมันที่มีมากจะเป็นตัวชนวนการระบายความร้อนอย่างดี ผู้ป่วยที่ป่วยนอนติดเตียง(Bed Ridden) ผู้ป่วยเด็กเล็กซึ่งไม่สามารถดูแลตนเองได้ (โดยเฉพาะกลุ่มที่อายุ < style="color: rgb(153, 0, 0);"> (Drug & Substances associated Heat Stroke)พบในกลุ่มที่ใช้ยาประเภท sympathomimetic drugs เช่น สารเสพติดโคเคน ยาแอมเฟตามีน involatile anesthetic agent ยากลุ่ม muscle relaxant (acetylcholne) หรือยากลุ่ม Sedative ซึ่งทำให้เกิด Neuroleptic Malignant Syndrome(NMS) ได้


อุบัติการการเกิด

รายงาน การเกิดไม่ชัดเจนนัก เพราะปัญหาในเรื่องการวินิจฉัย เพราะเมื่อผู้ป่วยที่เกิดภาวะนี้ ในระหว่างการส่งต่อหากมีการช่วยเหลือประคับประคองเบื้องต้น ร่างกายได้รับความเย็นจากเครื่องปรับอากาศในรถฉุกเฉิน หรือในห้องตรวจฉุกเฉิน อุณหภูมิที่วัดโดย Core temperature ซึ่งโดยส่วนใหญ่วัดทางทวารหนักมักจะลดลงจากปัจจัยที่กล่าวมาทำให้การ วินิจฉัยยากขึ้น เพราะอุณหภูมิมักต่ลงมากว่า 41.1 องศาเซลเซียสแล้ว

อุบัติ การการรายงานในไทยมีให้ตกใจเป็นครั้งคราวตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ เช่น ที่เป็นข่าวเร็ว ๆ นี้มีการพบการเสียชีวิตของเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในรถ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเด็กที่ถูกลืมทิ้งไว้ในรถเสียชีวิตจากขาดอากาศหายใจ แท้จริงแล้วเด็กเหล่านี้เสียชีวิตจากความร้อนสูงเกินขนาดเสียเป็นส่วนใหญ่ พ่อแม่ที่ปล่อยลูกไว้ในรถ ลงไปชอปปิ้ง อาจเปิดเครื่องยนต์เปิดแอร์ไว้ แต่เครื่องเกิดดับขึ้นมาชั่วเวลาเพียงไม่นาน อุณหภูมิภายในรถจะสูงขึ้น หากอุณหภูมิภายนอกสูงเช่นในเวลากลางวัน ความร้อนจะยิ่งทวีคูณอย่างรวดเร็ว

อุณหภูมิ ภายในรถอาจสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 10 นาทีแรก ในวันที่อากาศภายนอกประมาณ 32 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในรถสามารถเพิ่มขึ้นถึง 51 องศาเซลเซียส ได้ภายในเวลาเพียงยี่สิบนาที ในเด็กอุณหภูมิภายในร่างกายจะปรับตัวต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีเท่า ผู้ใหญ่ ดังนั้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูงเร็วกว่าผู้ใหญ่ถึงเกือบห้าเท่าตัว


ในประเทศซีกตะวันตกมีการรายงานว่าเป็นสาเหตการเสียชีวิต ประมาณ 25-334 รายต่อปี (CDC Report 1979-2003) ทั้งที่อากาศร้อนน้อยกว่าระเทศเรามาก ในส่วนภูมิภาคเอเชียที่มีรายงานให้เห็นบ่อยคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยังพบว่าหากวินิจฉัยช้าและให้การรักษาไม่รวดเร็วพอ จะทำให้เสียชีวิตถึงร้อยละ 80 และสามารถลดลงได้ถึงร้อยละ 10 จากการช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันท่วงที

ในเรื่องปัจจัยอื่น ๆ เช่น เชื้อชาติ เพศ ไม่ค่อยพบว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้พบอุบัติการต่างกัน แต่มักมีผลอ้อมมาจากกิจกรรม สังคม สิ่งแวดล้อน เศรษฐานะของประชากรกลุ่มนั้น ๆ มากกว่า เช่น พบอุบัติการในผิวดำมากกว่าผิวขาว ประมาณ 3 เท่า เพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า ซึ่งอฺบายจากเศรษฐานะ และและวิถีการทำงานที่แตกต่างกันมากกว่า ส่วนอายุเป็นปัจจัยที่มีผลชัดเจน พบว่ากิดในอายุน้อยกว่าหนึ่งปี และวัยชรามากกว่า โดยพบร้อยละ 44 ของผู้ป่วย Heat stroke ทีเดียว

อาการแสดงของโรค

1) มีอุณหภูมิกายสูงมากกว่า 41 องศาเซลเซียส(hyperthermia) มีเหงื่อออกมากในกลุ่ม EHS และไม่มีเหงื่อออกใน NEHS สัมพันธ์กับประวัติกิจกรรมในที่อากาศร้อนชื้น ถ่ายเทยาก หรือมีประวัติออกกำลังกาย หรือฝึกหนักก่อนมีอาการมาพบแพทย์

2)อาการ ทางคลินิกสามารถรุนแรงมากขึ้นหากมี ภาวะต่าง ๆเหล่านี้ นำมาก่อน เช่น proceeding viral infection, มีภาวะขาดน้ำ, ร่างกายอ่อนเพลีย, มีโรคอ้วน, ผักผ่อนนอนหลับไม่พอเพียง, ร่างกายไม่ฟิตพอ(poorly physical fitness) มีการปรับตัวกับอากาศร้อนไม่ได้ดี(lack of acclimazation)

3) อาการทางระบบประสาท ตั้งแต่กระสับกระส่าย, delusion, มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจากปกติ, หูแว่วเห็นภาพหลอน(hallucination), ชักเกร็ง และโคมา อาการโคมา อาจมีผลจากการผันผวนของสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย, ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ, ภาวะ hepatic encephalopathy, มีเลือดออกในสมอง จากการบาดเจ็บที่ศีรษะ และอื่น ๆ จนถึงอาการทางสมองบวมจนถึงมีการเคลื่อนตัวของสมองมากดแกนสมอง เป็นต้น

4) อาการที่พบในระบบอื่น ๆ จะช่วยทำให้เรานึกถึงโรคหรือภาวะนี้มากขึ้น

4.1) ด้านสัญญาณชีพ พบ อุณหภูมิกายสูง เหงื่อออก(หรือ ไม่มีหงื่อออก ในกลุ่ม NEHS) ชีพจรเร็ว ความดันปกติหรือสูง ในช่วงต้นโดยมักมี wide pulse pressure(Systolic Blood Pressure-Diastolic Blood Pressure > 40 mmHg) จากการมี peripheral vasodilatation ของหลอดเลือดฝอยส่วนปลาย

4.2) อาจพบการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบ nystagmus ของตา หรือแบบ occulogyric เหลือกไปด้านใดด้านหนึ่ง ม่านตาสามารถขยาย,หด, หรือในสภาพปกติก็ได้ (fixed, dilated, pinpoint or normal pupils)

4.3) ระบบไหลเวียนโลหิต สามารถทำให้เกิด myocardial dysfunction หัวใจจะอยู่ในภาวะ hyperdynamic state , ชีพจรเต้นเร็ว มี high cardiac output index ซึ่งบางครั้งอาจพบว่าความดันโลหิตต่ำ จาก peripheral vasodilatation หรือจาก myocardial dysfunction จนถึงมีอาการหัวใจวาย(High/Low output Heart failure) ได้

4.4) ระบบทางเดินอาหาร มักเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารร่วมด้วยเสมอ อาจพบอาการตับวายร่วมด้วยได้บ่อย ๆ โดยสามารถดูจากเอ็นไซม์ของตับที่สูงขึ้น ตัวเหลือตาเหลือง เป็นต้น

4.5) ระบบกล้ามเนื้อ จะมีการสลายของกล้มเนื้อ ( rhabdomyolysis) มีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ จนถึงอาการอ่อนแรงก็สามารถเกิดร่วมได้

4.6) ระบบทางเดินปัสสาวะ พบภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งเป็นผลมาจาก myoglobinemia จาก rhabdomyolysis หรือจากภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจพบสีปัสสาวะแดงขึ้นคล้ายสีโค๊ก สีชา จนเป็นสีเลือดแดงเก่า ๆ ปนเวลปัสสาวะได้

การรักษา

1)ภาวะ นี้ถือว่าเป็นภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่ต้องรีบให้การรักษาโดยทันที ดังนั้นผู้ประสบเหตุจึงเป็นกุญแจสำคัญในการรักษา เพราะถ้านึกถึง สงสัย และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น จนถึงส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วจะช่วยลดอัตราตายลงได้ถึงร้อยละ 10 ส่วนการวัดไข้ต้องวัดโดยทางทวารหนักจะเที่ยงตรงที่สุดเพราะเป็นตัวสะท้อน core temperature ที่ดี ควรรับผู้ป่วยไว้ติดตามอาการต่าง ๆใน รพ. อย่างน้อย 48 ชม. ในหอผู้ป่วยวิกฤติ(ICU)

2)ลดอุณหภูมิกายลงโดย ค่อย ๆ ลดลงมาที่ 39 องศาเซลเซียสก่อน ยังไม่ต้องรีบลดลงจนเป็นปกติเร็วเกินไป ถอดเสื้อผ้าออก พ่นละอองฝอยของน้ำเป็นสเปรย์ละเอียดหับร่างกายผู้ป่วยคลุมด้วย Water Soak Sheet หรืออาจเอาถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้และขาหนีบทั้งสองข้างร่วมไปด้วย

3) ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าจำเป็น ให้ออกซิเจนผู้ป่วย

4) เปิดเส้นเลือดดำ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดให้พอเพียง แก้ไขภาวะน้ำตาลในหลอดเลือดหากพบว่ามีการต่ำกว่าปกติ

5) หัวใจหรือหลักการรักษา ต้องค่อย ๆลดอุณหภูมิกายลง 0.2 องศาเซลเซียส ต่อนาที จนลงมาที่ 39 องศาสเซลเซียสก็พอเพียง เพราะไม่ต้องการให้ลดเร็วจนเกินไป โดยวิธีการรักษาในห้องฉุกเฉินหรือไอซียูนั้นการใช้ละอองน้ำพ่นใส่ (intermittent spray)โดยใช้ละอองน้ำอุ่น ๆ ร่วมกับเปิดพัดลมเป่า จะช่วยส่งเสริมการระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดีที่สุด ซึ่งอ้างว่าจะปลอดภัยกว่าวิธีเดิมที่ใช้ Ice-water immersion เช่นจุ่มลงในน้ำผสมน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เกิด shivering ,peripheral vasoconstriction ทำให้ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้น ระบายไม่ออกจากร่างกาย

6) การลดความร้อน อื่น ๆ ไม่มีข้อสนับสนุนชัดเจน ทางวิชารว่าดีแต่ยังสามารถทำได้ เช่น การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหาร(stomach), ช่องท้อง(peritoneal),ทวารหนัก(rectum) แล้วทำการล้างด้วยน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง การใช้น้ำเกลือที่มีความเย็น(Cold sal, ne),ใช้ไอออกซิเจนเย็น(Cold humidified oxygen)ให้ผู้ป่วย จนถึงการทำ Cardiopulmonary bypass แต่มักทำได้ยากเพราะมักต้องใช้เครื่องมือ บุคลากรที่มีความรู้

7) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำควรพอดี โดยเฉพาะช่วงแรก เน้น Coolling อย่างเดียวก็สามารถทำให้ทุกอย่างกลับมาปกติ แต่ถ้ามีการสลายของกล้ามเนื้อ (rhabomyolysis) มี hemoglobinemia ซึ่งพบราว 25-30 % อาจต้องให้สารน้ำมากขึ้น(บางครั้งอาจถึง 10 ลิตร) ทำปัสสาวะให้เป็นต่าง ร่วมกับการให้ manitol โดยพยายามให้มีปัสสาวะออกราว 3 ซีซีต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ต่อชัวโมง พยายามให้ปัสสาวะมีความเป็นด่าง pH 7.5-8

8) ตรวจหาติดตามการเกิด MOD(multiple organ dysfunction) และรีบแก้ไขให้กลับสู่ปกติ

ดังที่กล่าวมาถ้าเป็นแล้วการรักษามีความยุ่งยากและซับซ้อน ดังนั้นเราควรป้องกันไว้ก่อน จะดีที่สุด

การป้องกัน

1) ในสภาวะที่อากาศร้อนมาก ควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตร ต่อวัน(ราว 6-8 แก้ว) หลีกเลียงอากาศร้อนชื้น ถ่ายเทไม่สะดวก

2) ในการออกกำลังกายในช่วงอากาศร้อนไม่ควรโหมหนัก ต้องรู้จักพัก, warming up และ warm down

3) ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และโปร่งสบาย เช่น ผ้าฝ้าย

4) สำหรับเด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ในช่วงที่อากาศร้อนมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ควรต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด ช่วยหาอาหารและน้ำให้รัปประทานอย่างเพียงพอ

5) ใช้หลักการ Risk modification behavior เช่น อาบน้ำทำตัวให้เย็นสบาย ปะแป้ง เปิดแอร์ เปิดพัดลมคลายร้อน งดอาหารประเภทมีแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อารเพิ่มความร้อนในร่างกายเช่น ยาแอมเฟตามีน โคเคน ยารักษาโรคบางชนิดที่กินประจำแต่อาจมีผลรบกวนในเรื่องระบายความร้อน ก็อาจปรับเปลี่ยนให้เหมะสม

6) อาการแสดงที่บอกเราว่าจะเกิดภาวะนี้ได้แก่ เมื่อเราอยู่ในที่อากาศร้อน ชื้น การถ่ายเทไม่ดี หรือร่วมกับการฝึกหรืออกกำลังกาย อย่างหนัก หากมีอาการเหล่านี้ เหงื่อออกมาก หน้าซีด
ตะคริว อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม ตัวร้อนจัด ควรนึกถึงโรคนี้และรีบนำผู้ป่วยส่ง รพ.ทันที

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MSc. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University