วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ข่าวแมงมุมกัดหนุ่มใหญ่ภูเก็ตเสียชีวิตจริงหรือ ?

# ข่าวหนุ่มภูเก็ตซวย!! ถูกสัตว์มีพิษกัดเสียชีวิต คาดแมงมุมสีดำกัด #
เก็บตกจากช่วง X-Ray ข่าว รายการพบหมอรามา 25 มกราคม 2555 ทาง TrueVision 80
เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา น.ส.ปิยะนันท์ บุญศรี อายุ 30 ปี ภรรยาของนายวันชัย วงศ์ละคร อายุ 30 ปี ได้ติดต่อขอรับศพสามีออกจากที่โรงพยาบาลถลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่จังหวัด สกลนคร หลังเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บเนื่องจากถูกสัตว์ไม่ทราบชนิดกัด

น.ส.ปิยะนันท์ซึ่งตั้งท้อง 8 เดือน ภรรยาของนายวันชัย เล่าว่า เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 22 ม.ค.สามีซึ่งมี อาชีพขายผลไม้บ้านเดิมอยู่จังหวัดสกลนคร กลับเข้าบ้านพักเลขที่ 190/14 ม.4 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง ต่อมาเมื่อเวลา 20.00 น.พบว่านายวันชัยมีอาการปวดที่บริเวณแขนขวามากจนไม่สามารถยกแขนได้ ที่ใต้รักแร้พบว่ามีรอยเป็นจ้ำสีแดงคล้าย ถูกสัตว์กัด จึงนำตัวส่งโรงพยาบาลถลาง

แพทย์ได้สอบถามอาการและให้ยาแก้ปวดมารับประทาน แล้วให้กลับไปพักผ่อนที่บ้าน พร้อมนัดให้ไปตรวจอีกครั้ง ในเวลา 08.00 น.วันที่ 23 ม.ค.55 แต่อาการเจ็บปวดไม่ดีขึ้น จนกระทั่งเวลาประมาณ 06.00 น.ยิ่งเจ็บปวดมากขึ้น จึงรีบพาเข้าพบแพทย์อีกครั้งที่โรงพยาบาล โดยครั้งนี้แพทย์ได้เจาะเลือดแล้วนำเลือดไปเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยโรค แต่ในระหว่างรอผลตรวจนายวันชัยเกิดอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก แพทย์พยายามปั๊มหัวใจ แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จนนายวันชัยเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยแพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่า แพ้พิษเฉียบพลันจากสัตว์ร้ายไม่ทราบชนิด

ทั้งนี้ น.ส.ปิยะนันท์ คาดว่า สามีน่าจะถูกแมงมุมสีดำกัด เพราะที่บ้านจะพบแมงมุมขนาดใหญ่สีดำเป็นประจำ ตนเคยตีตายไปแล้ว 2 ตัว ซึ่งไม่คิดว่าจะเป็นแมงมุมมีพิษอย่างไรก็ตาม ช่วงบ่ายวันนี้ (24 ม.ค.) นายแพทย์ศักดิ์ แท่นชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้นัดแถลงข่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตของนาย วันชัยด้วย


จากประเด็นข่าว

1.แมงมุมกัดถึงกับเสียชีวิตเลยทีเดียวหรือ?

ถ้าตอบกันตามเนื้อผ้าว่ากันตรงตามข้อมูลที่ได้จากข่าว และรูปรอยกัดที่สื่อนำรูปมาเสนอ คิดว่าโอกาสเป็นไปได้น้อยมากว่าถูกพิษแมงมุมถึงตายแต่ถ้าเกิดอาการแพ้จากการกัดไม่ว่าสัตว์ตัวนั้นจะเป็นอะไรก็ตามที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงที่เรียกว่าอาการแพ้แบบอนาไฟแลคซีส(anaphylaxis)แล้วนั้นมีโอกาสเป็นไปได้ แต่คงไม่ได้เสียชีวิตจากพิษของแมงมุมโดยตรง เพราะจากประสบการณ์ของผู้วิเคราะห์ข่าวเท่าที่เึยไปฝึกงานต่างประเทศมาพบว่าแมงมุมที่มีพิษร้ายแรงในไทยเรียกว่าแทบไม่มีเลยหรือจะหาทำยายังยาก ถ้ามีอาจเป็นที่หลุดรอดจากการลักลอบนำเข้ามาเลี้ยงคล้ายๆกับงูเขียวแมมบ้าในช่วงน้ำท่วมนั่นไงครับ ในออสเตรเลียหรือในหลายประเทศมีแมงมุมที่มีพิษร้ายแรงและกัดตายได้ชื่อแมงมุมแม่หม้ายดำหรืออีกชื่อหนึ่งคือ black widow จำได้ว่าเคยเห็นในขวดโหลเมื่อครั้งไปดูงานศูนย์พิษที่ออสเตรเลียครั้งเดียวเอง เมืองไทยไม่มีครับ สองถ้าวิเคราะห์ตามบาดแผลที่พบตามรูปที่นำมากับสื่อพบว่ารอยกัดเป็นจุดเดียวเล็กๆและมีร่องรอยการบวมแดงขิงอวัยวะด้านล่างที่ถูกกัด ถ้าวิเคราะจากรอยกัดต้องเป็นอะไรที่ต่อยตำเป็นรูเดียว เช่นต่อ แตน ผึ้ง แมลงป่องเป็นต้นจากที่ดูไม่พบเหล็กในซึ่งน่าจะเป็นต่อหรือแตนก็ได้ เพราะผึ้งต่อยได้ครั้งเดียวโดยจะทิ้งเหล็กในและต่อมพิษติดไว้ส่วนตัวผึ้งที่ต่อยจะตายหลังจากต่อยครั้งเดียวซึ่งไม่เห็นร่องรอยเหล็กในค้างในรายนี้ยกเว้นผู้ป่ายเอาออกได้ด้วยตนเอง แมงป่องก็อาจเป็นได้ ส่วนแมลงหรือแมงที่กัดได้ส่วนใหญ่จะทิ้งรอยเขี้ยวไว้สองรอยให้เห็นเช่นตะขาบ แมงมุม รวมไปกระทั่งถึงงูเช่นกันต้อวเห็นรอยเขี้ยวสองรอยเช่นกัน. ถ้าดูปัจจัยด้านพิษที่มีผลพบว่าโดยส่วนมากพิษแมงมุมมักมีผลต่อระบบประสาทและผิวหนังหรือบาดแผลที่กัด น้อยรายมีผลต่อระบบเลือด ผลต่อหัวใจเองก็น้อยลงไปอีกจากแผลที่พบพบแค่รอยจุดเหมือนไฝหรือขี้แมงวันมากกว่า อันนี้ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นแบบไหนไม่งั้นจะนำม่ซึ่งการวิเคราะห์สาเหตุการตายที่ผิดไป ถ้าขายผลไม้ก็มีแนวโน้มที่จะโดนต่อแตนหรือผึ้งก็เป็นไปได้สูงแต่ก็ยังสรุปไม่ได้ชัดเจน

2.สาเหตุการตายน่าจะเป็นจากอะไร ?

จากข้อมูลจากข่าวและข้อหนึ่งที่กล่าวไป ตามวิจารณญาณของผู้วิเคราะห์การตายไม่น่าจะเกิดจากพิษจากสัตว์ที่กัดนั้นโดยตรง และไม่น่าจะใช่แมงมุมแต่อาจเป็นสัตว์อื่นๆตามที่กล่าวไปเพราะภรรยาได้ยืนยันว่ามีอาการบวมแดงเฉพาะที่แขนก่อนและมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อีกประเด็นที่ต้องคำนึงไว้คือผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวอะไรที่ส่งเสริมให้อาการรุนแรงหรือเป็นเร็วร้ายแรงมากขึ้นหรือไม่ เช่นโรคตับ ติดสุราเรื้อรังโรคหัวใจโรคปอดเป็นต้น จากอาการอาจเป็นไปได้ว่าน่าจะนึกถึงสาเหตุประการหนึ่งที่ถูกมองข้ามไปคืออาการแพ้แบบรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตที่เรียกว่า อนาไฟแลคซีส โดยอาการเริ่มต้นอาจจะเกิดอาการแพ้คันเล็กน้อยบริเวณที่สัมผัส ถูกกัด เป็นมากขึ้นก็อาจเป็นลมพิษ หน้าตาหูบวมตึง บริเวณอวัยวะที่ถูกกัดบวมแดงร้อน คันหรือปวด ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงมากๆจะไปรบกวนหรือหยุดการทำงานของอวัยวะหลักของร่างกายคือระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว แพ้แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก เจ็บหน้าอกจนความดันโลหิตตกและเกิดภาวะช็อกขึ้นได้จนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในที่สุดถ้ารักษาไม่ทันการหรือแม้กระทั่งให้การรักษาเต็มที่แล้วก็ตาม ในรายนี้ถ้าเกิดจากสาเหตุนี้อาจจะเป็นอาการแสดงที่ค่อนข้างช้าหน่อยหรือเรียกว่า late phase อาจเป็นเพราะได้รับการรักษามาบ้างบางส่วนจากแพทย์ที่ไปหารอบแรง หรือผลจากการดื่มสุราก็อาจเป็นได้ทำให้การสังเกตุอาการยากขึ้น

3.การรักษาถ้าเกิดอาการแบบนี้ควรทำอย่างไร?

ต้องอธิบายให้ทราบว่าการตอบสนองต่อพิษหรืออาการแพ้แต่ละคนไม่เท่ากันบางคนโดนตะขาบต่อยกลับปวดนิดหน่อยบางคนกลับปวดมากและแพ้รุนแรงต้องฉีดยาแก้ปวด บางคนแพ้แค่คันๆ บางคนแพ้แบบช็อกหลอดลมตีบหายใจไม่ได้ ซึ่งหากถูกสัตว์พิษกัดแนะนำว่าอย่างน้อยควรมาให้แพทย์ตรวจประเมินอาการเบื้องต้นและให้การรักษาที่เหมาะสมดีกว่าโดย

3.1ถ้าเป็นสัตว์พิษและมียาแก้พิษ เช่นงู และมีเซรุ่มแก้พิษควรให้ถ้าผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้

3.2 ตระหนักถึงอาการ ตระหนักถึงความเสี่ยงเช่น ถ้าเป็นผื่นคันเล็กน้อยอาจไม่มีอาการรุนแรงแต่ต้องหมั่นติดตามดูการเปลี่ยนแปลงหากอาการมากหรือมีโรคประจำตัวควรรับไว้รักษาตัวในรพ.หรือสังเกตุอาการใกล้ชิดอย่างน้อย 6-8ชม.จนมั่นใจว่าปลอดภัย หากเป็นงูกัดไม่แน่ใจควรรับไว้รักษาในรพ. สัตว์พิษเช่นต่อแตนผึ้ง หากถูกรุมต่อยมากกว่า10จุดในคราวเดียวมีโอกาสเสียชีวิตแบบฉับพลันทันทีได้จาก อาการแพ้รุนแรง ไตวาย ทางเดินหายใจบวม หลอดลมตีบ เม็ดเลือดแดงแตก ต้องรีบให้การรักษาเป็นการด่วนตะขาบกัดมักปวดรุนแรงแต่ไม่ถึงตายนอกจากแพ้ แมงป่องต่อยมีพิษรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้เช่นแมงป่องช้างเป็นต้น

3.3 การรักษาอาการแพ้ที่เกิดร่วมหากรุนแรง มีอาการอนาไฟแลคซีสต้องรีบให้ยา adrenaline 1:1000 ฉีดเข้ากล้ามทันที เด็กเล็ก 0.3mL เด็กโตหรือผู้ใหญ่ 0.5 mL ร่วมกับการรักษาอื่นๆที่ช่วยประคองอาการให้รอดชีวิต เช่นการให้ยาแก้แพ้ประเภทที่ต้านฮีสตามีน ยาสเตียรอยด์เพื่อลด late phase reaction การพ่นยาขยายหลอดลม ตลอดจนเปิดเส้นให้สารนำ้เข้าหลอดเลือดเพื่อรักษาอาการความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อค เป็นต้น

ยังไงในรายนี้คงต้องรอพิสูจน์จากอาการทางคลินิก การชันสูตรเพราะก่รเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติอย่าไปแตกตื่นกับข่าวเรื่องแมงมุมกัดตายมากเพราะโอกาสเป็นไปได้น้อย ตัวอะไรกัดหากเกิดอาการแพ้รุนแรงก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ครับ ซึ่งหลายคนอาจมองข้ามปรัเด็นนี้ไปครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, MD,BBA, MS.ICT,MA(Information Science)
กุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dr.sakda@gmail.com

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

'เฟซบุ๊ก' ทำผู้เล่น จิตตก! เห็นคนอื่นสุขกว่าจากการเสพภาพถ่าย

#'เฟซบุ๊ก' ทำผู้เล่น จิตตก! เห็นคนอื่นสุขกว่าจากการเสพภาพถ่าย #
X-Ray ข่าวจากช่วง พบหมอรามา 25 มกราคม 2555 ทาง TrueVision 80

​ผลวิจัยชี้ เล่น "เฟซบุ๊ก" มาก ทำให้จิตตก เหตุเห็นคนอื่นโพสต์รูปแสนสุข ทำให้คิดไปเองว่าตัวเองแย่กว่า....
​สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 18 ม.ค. ว่า ทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยยูทาห์วัลเลย์ เผยผลการศึกษาล่าสุด ระบุว่า ผู้ใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์กลุ่มใหญ่ มีความเชื่อว่าบุคคลอื่นมีความสุขมากกว่าที่ตนเป็นอยู่ ซึ่งนักสังคม วิทยาอธิบายไว้ว่าการโพสต์รูปภาพเป็นต้นตอของสาเหตุดังกล่าว
 ซึ่งการโพสต์รูปภาพของกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่ในแวดวง เพื่อนนั้น ​ส่วนใหญ่จะเป็นภาพใบหน้าเปื้อนยิ้ม หรือออกไปทานข้าวมื้อพิเศษ เมื่อถ่ายทอดออกไปแล้ว ทำให้ผู้ที่ พบเห็นรู้สึก ต่ำต้อยด้อยค่า เพราะว่าไม่ได้มีช่วงเวลาพิเศษพร้อมๆ กับบุคคลอื่นเขา
 อย่างไรก็ดี จากการสอบถาม บุคคลที่อยู่ใน ช่วง อุดมศึกษานั้น มีความเชื่อว่า "เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ มีความสุขมากกว่าตัวเอง" เช่นเดียวกับที่ผลวิจัย ออกมาโดยกลุ่มที่ให้ ​ข้อมูลนั้น 95 เปอร์เซ็นต์ สมัครใช้งาน "เฟซบุ๊ก" มาแล้วราว 2 ปีครึ่ง และใช้เวลาท่องอยู่หน้าจอ เพื่อสอดส่องและเล่นในเว็บสังคมออนไลน์เฉลี่ยวันละเกือบ 5 ชั่วโมง

วิเคราะห์ประเด็นข่าว

ปัจจุบัน social network เป็นที่นิยม ใช้เป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แต่ในบางครั้งอาจเป็นที่ที่ผู้ใช้ใช้เป็นพื้นที่ในการระบายความรู้สึกที่อึดอัดคับข้องใจถ่ายทอดให้กลุ่มเพื่อนหรือคนอื่นๆรับทราบซึ่งถ้าแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆจะมีข้อมูลที่ออกไปสองมุมมองคือมุมมองทางบวกและทางลบ ส่วนผู้รับหรือเสพสื่อที่รับนั้นกลับวิเคราะห์ว่าเป็นจุดที่ทำให้เกิดปัญหาเพราะการเสพและรับสื่อเหล่านี้นั้นต้องอาศัย พื้นฐานอารมณ์ของผู้ใช้ บุคนิสัย ความมีเหตุมีผล ทัศนคติ มุมมองส่วนบุคลและประสบการณ์ที่สั่งสมมา มาเป็นตัวช่วย ดังนั้นสื่อไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบที่รับมาก็ตามหากผู้ใช้มีภูมิต้านทานด้านความมั่นคงของอารมณ์และเหตุผลแล้ว ย่อมไม่เกิดปัญหาขึ้น แต่ถ้าสื่อเหล่านี้ตกไปให้ผู้ที่มีปัญหาเสพสื่อเหล่านี้เช่นตนเองมีบุคลิกที่ซึมเศร้า มองโลกด้านลบ หากเห็นภาพคนอื่นโพสต์อริยาบท ความคิดแนวปัจเจคซึ่งอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้องหรือภาพที่มีความสุขหรือโพสต์ข้อความชักชวนโน้มน้าวไปทางลบมักมีอารมณ์คล้อยตาม เกิดอาการซึมเศร้า จิตตกตามไปด้วย ดังนั้นตัวสื่อหรือเทคโนโลยีเองนั้นไม่ได้เป็นตัวปัญหาเทคโนโลยีหรือสื่อเปรียบเหมือนเหีียญสองด้าน ถ้ารู้จักใช้สร้างสรรค์ ให้เกิดประโยชน์ก็จะสร้างประโยชน์มากนานับประการ ดังนั้นควรมารณรงค์สร้างจิตสำนึกทั้งผู้ส่งและผู้รับให้เกิดภูมิต้านทานในจิตใจหรือวุฒิภาวะในเชิงบวกกันดีกว่าจะไปแก้ที่สื่อ ส่วนสื่อเองควรต้องมีระบบระเบียบในการควบคุมให้อยูในเกณฑ์มาตรฐานก็จเป็นแรงเสริมเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ลงได้มากทีเดียวครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, MD,BBA, MS.ICT,MA(Information Science)
กุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dr.sakda@gmail.com

แนะวิธีดูแลปวดเมื่อยด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ยาทาสูตรร้อนจะกระตุ้นอักเสบ

X-Ray ข่าวจากช่วง พบหมอรามา 25 มกราคม 2555 ทาง TrueVision 80
แนะวิธีดูแลปวดเมื่อยด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ยาทาสูตรร้อนจะกระตุ้นอักเสบ
​อาการปวดหลัง ปวดเอว หรือต้นขา นับเป็นอีกหนึ่งโรคภัยที่ทำให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของ คนเรากลายเป็น เรื่องยาก บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ ‘นูโรเฟน เจล’ จึงจัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “การทำงานและการออกกำลังกาย เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดของคุณ” ขึ้น ณ ศูนย์การ ค้า Digital Gateway ชั้น G เพื่อให้ความรู้ และแนะนำแนวทางที่จะช่วยป้องกัน และรักษาอาการปวดเมื่อยเบื้องต้นแก่ ผู้ที่มีปัญหาได้ด้วยตัวเอง
​โดยได้เปิดเผยว่า กลุ่มคนทำงานและ ออกกำลังกายน่าจะเป็นกลุ่มหลักๆที่ต้องประสบกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอกของกล้ามเนื้อ หรือข้อและเส้นเอ็น ไม่ว่าจะเป็นที่มือและข้อมือ กล้ามเนื้อหลัง คอ ไหล่ เอว ดังนั้น การออกแรงกล้ามเนื้อเกินกำลัง หรือออกแรง กล้าม เนื้อ บริเวณเดิมติดต่อกันมากเกินไป หรือการยืดกล้ามเนื้อหรือเอ็นไปในทิศทางหรือระยะทางที่มากเกินไป ก็จะทำให้เกิด การอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็นได้เช่นเดียวกัน เมื่อ มีอาการปวดหรืออักเสบกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน ควรหยุด การออกแรงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ และให้ใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นประคบบริเวณที่บาดเจ็บหรืออักเสบภายใน 24 ชั่วโมง หลังบาดเจ็บ รวมถึงอาจจะใช้ ยาทาชนิดที่มีส่วนประกอบของยาลดการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ แต่สิ่งหนึ่งที่พึงระวังคือไม่ควรใช้ยาทาชนิดสูตรร้อน เพราะจะยิ่งกระตุ้นอาการอักเสบให้รุนแรงขึ้นสำหรับความ แตกต่าง ในการ ดูแลอาการอักเสบจากกล้ามเนื้อและเอ็นคือ การบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อ อาจเลือกใช้ยาทานวดชนิดที่มียาแก้ อักเสบ จะช่วยลดการอักเสบที่ต้นเหตุได้ดี กว่า ส่วนการบาดเจ็บจากเอ็น เช่น เอ็นข้อศอกที่พบในนักเทนนิสนั้น จำเป็น ต้องใช้ยาทาชนิดที่มียาต้านการอักเสบซึ่งจะได้ผลมากกว่า ซึ่งยาต้านการอักเสบนั้นมีทั้งรูปแบบยาทาและยารับประทาน ในกรณีที่มีอาการอักเสบกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง สามารถเลือกใช้ทั้งยาในรูปแบบยารับประทานและยาทาต้านอาการอักเสบควบคู่กัน เพื่อเสริมการรักษาให้เร็วขึ้นได้ หรือควรพบแพทย์ผู้รักษาเฉพาะทาง.

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกันก่อน ส่วนใหญ่สามารถแบ่งให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

1.1 บาดเจ็บผิวเผิน ไม่รุนแรงเช่นผิวหนังถลอก (Abrasion)
1.2 เกิดการกระแทกไม่รุนแรง การเสียดสีทำให้เกิดผิวหนังพอง (Blisters)
1.3 การเกิดการฟกช้ำ (Contusion) จากมีแรงกระแทกโดยตรง ซึ่งโดยมากมาจากวัตถุแข็ง ไม่มีคม ทำให้เกิดเลือดคั่งอยู่และไม่สามารถซึมออกสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงได้ อาจมีอาการเจ็บปวด บวมร่วมด้วย การปฐมพยาบาลที่เหมะสมเบื้องต้นโดยการประคบเย็นโดยทันทีพร้อมกับกดเบาๆตรงบริเวณฟกช้ำ ความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดหยุดและบรรเทาความเจ็บปวดได้ อาการฟกช้ำนี้จะหายเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ออกในชั้นใต้ผิวหนัง หลังจาก 24 -48 ชั่วโมงไปแล้ว จึงใช้ความร้อนประคบจะช่วยให้ก้อนเลือดสลายตัวได้เร็วขึ้น
1.4 เอ็นหรือกล้ามเนื้อฉีกขาด (Tendon or ligament tear/strain/sprain) มักพบที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ด้านหลัง และน่อง โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับคือ
1.4.1 ระดับที่หนึ่ง กล้ามเนื้อฉีกขาดเล็กน้อย จะมีการบาดเจ็บเล็กน้อย อาจบวมหรือไม่บวมก็ได้ ปกติสามารถหายภายใน 3 วันโดยใช้ผ้ายืดพันยึดส่วนนั้นเอาไว้
1.4.2 ระดับที่สอง กล้ามเนื้อฉีกปานกลาง กล้ามเนื้อยังทำงานได้บ้าง จะมีอาการปวดบวม ต้องพันยึดด้วยผ้ายืดและใส่เฝือก โดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
1.4.3 ระดับที่สาม กล้ามเนื้อฉีกขาดสมบูรณ์ กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ บวมและปวดรุนแรง คลำดูจะพบรอยบุ๋มใต้ผิวหนัง จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเย็บต่อส่วนที่ขาด และใช้กายภาพบำบัดเข้าช่วย
หลักการปฐมพยาบาลและบำบัดรักษากล้ามเนื้อฉีก แบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. ระยะแรก ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ให้ใช้หลัก “RICE” ดังนี้

R = Rest ให้พักโดยเฉพาะส่วนที่บาดเจ็บ
I = Ice ใช้น้ำแข็งประคบส่วนที่บาดเจ็บ ครั้งละ 20 – 30 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
C = Compression พันกระชับส่วนนั้นด้วยม้วนผ้ายืด ควรใช้สำลีรองก่อน หลักการพันคือพันจากส่วนปลายมาหา ส่วนต้น (เวลานอนไม่ต้องพัน)
E = Elevation ยกส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลกลับหัวใจ เป็นการช่วยลดอาการปวดบวม

2. ระยะที่สอง นานเกิน 24 -48 ชั่วโมง ผู้บาดเจ็บเริ่มทุเลาแล้ว จะใช้ความร้อนและวิธีทางกายภาพบำบัด โดยใช้หลัก “HEAT” ดังนี้

H = Hot ใช้ความร้อนประคบ โดยเฉพาะความร้อนลึก(เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัด) หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้
E = Exercise ลองขยับเขยื้อนส่วนที่บาดเจ็บดูเบาๆ เป็นการบริหารส่วนที่บาดเจ็บและทำการบีบนวดไปด้วย
A = Advanced Exercise ระยะหลังๆ บริหารให้มากขึ้น อาจมีผู้ช่วยในการบริหารส่วนที่บาดเจ็บ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย
T = Training for Rehabilitation

1.5 อาการตะคริว (Cramp) เกิดจากการเกร็งตัวชั่วคราวของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นแข็งเกร็งและมีอาการปวดจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาไม่นานก็จะหายไปเอง แต่อาจเกิดเป็นซ้ำที่เดิมอีกก็ได้ ในบางครั้งกล้ามเนื้ออาจเป็นตะคริวพร้อมๆกันหลายๆมัดก็ได้ เกิดจากหลายสาเหตุเช่น ร่างกายขาดเกลือแร่ ฝึกซ้อมนานเกินไป สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม รวมทั้งการใช้ผ้ายืดรัดบนกล้ามเนื้อค่อนข้างแน่นทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี การป้องกันทำได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุดังกล่าว การปฐมพยาบาลโดยการให้หยุดออกกำลังกายในทันที ให้ค่อยๆ เหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวอย่างช้าๆ นุ่มนวล ใช้ความร้อนประคบเพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณนั้นมากขึ้น

1.6 กล้ามเนื้อระบม (Muscular Soreness) แบ่งเป็น 2 แบบคือ

1.6.1 การระบมแบบเฉียบพลัน (Acute Soreness) ที่เกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกายในทันทีทันใดภายหลังการออกกำลังกาย สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อมีความตึงตัวสูง เลือดไหลไปเลี้ยงไม่พอ (Ischemia) ทำให้ไม่สามารถขจัดของเสียได้ทัน จะมีอาการเจ็บปวดในกล้ามเนื้อ
1.6.2 การระบมที่เกิดขึ้นภายหลัง (Delayed Soreness) เป็นการระบมที่เกิดขึ้นหลังจากหยุดออกกำลังกายไปแล้ว 24 -48 ชั่วโมง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อ เอ็น เกิดความเสียหายระหว่างที่ออกกำลังกาย
การป้องกันกล้ามเนื้อระบม ทำได้โดยการอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ ปรับปรุงวิธีการออกกำลังกายโดยเริ่มต้นแต่น้อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้นในภายหลัง

ยาที่เป็นประเด็นสำคัญที่พูดถึง

ยานวดร้อน(Analgesic balm) ยี่ห้อที่รู้จักกันดีเช่น counterpain เป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย แบบ ธรรมดา เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ เบาๆ โดยยา จะออกฤทธิ์ ทำให้เกิดความร้อนบริเวณที่ปวดเมื่อย ทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ปวดมากขึ้น ทำให้หายจากการปวดเมื่อยโดยไม่มียาต้านอักเสบเป็นส่วนผสม ในทางเภสัชศาสตร์เราเรียกว่า ยาออกฤทธิ์ แบบ counter-irritant ซึ่งจะไม่เหมาะในช่วงแรกของการบาดเจ็บ การประคบเย็นจะให้ผลดีกว่า ในปัจจุบันมีการทำ ยานวดสูตรเจลชนิดเย็น ที่มักมีคำว่า cool มาด้วย...ทาแล้วจะเย็น แต่ก็ออกฤทธ์ เหมือนกัน ซึ่งบางครั้งการมห้ความเย็นอาจน้อยกว่าสั้นกว่าการประคบน้ำแข็งเสียด้วยซ้ำ
ยานวดที่เข้าสูตรยาต้านการอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นยากลุ่มที่ไม่เข้าเสตียรอยด์ หรือที่ได้ยินติดปากว่า NSAIDs เช่น Voltaren gel, Reparil gel หลายๆตัวนั้น เป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีตัวยา NSAIDs ผสมอยู่ สูตรพวกนี้ทาแล้วจะรู้สึกเย็น ยา NSAIDs จะออกฤทธิ์ ลดการอักเสบ ของกระดูกและกล้ามเนื้อในทางเภสัชวิทยาเราเรียกว่าออกฤทธิ์ anti-inflammatory
เวลาที่เราจะเลือกในการใช้ ก็ต้องวิเคราะห์อาการของเราเองดูว่าปวดเมื่อย แบบไหน รุนแรงไม่รุนแรง ถ้าไม่รุนแรงมาก ถ้าไม่ใช่กล้ามเนื้ออักเสบเป็นแค่ปวดเมื่อยธรรมดา ก็ใช้แค่ ยานวดสูรร้อนต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายทั่วๆไปได้ แต่ถ้าปวดมาก กล้ามเนื้ออักเสบ ฉีกขาดแต่ไม่รุนแรงมากก็ให้ใช้หลักการของ RICE และ HEAT ในการเลือกใช้ยาสำหรับกลุ่มนี้ให้ใช้ NSAIDs gel หรือจะใช้ทั้งสองอย่างคู่กันก็ได้ตามความเหมาะสม. พึงระลึกไว้เสมอว่าหากการบาดเจ็บรุนแรงเช่นเอ็นหรือกล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดขึ้นการใช้ยานวดไม่ว่าสูตรเย็นหรือสูตรร้อนไม่สามารถช่วยได้เบ็ดเสร็จจำเป็นต้องอาศัยการเข้าเฝือกหรือการผ่าตัดร่วมในบางกรณีดังนั้นจึงควรเข้ามาพบ ปรึกษาแพทย์หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นจึงเป็นการเหมาะสมกว่า

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, MD,BBA, MS.ICT,MA(Information Science)
กุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dr.sakda@gmail.com

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

"โรคลมแดด" - ฮีต สโตรก (Heat stroke) โรคที่น่าสนใจ ในยุคโลกร้อน

ปัจจุบันโลกเราร้อนขึ้นมากจากภาวะโรค ร้อน(Global Thermal Warning) และดูเหมือนจะเริ่มแห้งแล้งมากขึ้น นั่นเป็นเพียงผลกระทบที่เราประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ในทางการแพทย์ เราก็กำลังกลับมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับโรคหลายๆ โรคที่มีผลจากการเพิ่มอุณหภูมิของโลกเรามากขึ้น Heat Stroke เป็นโรคหนึ่งที่หลาย ๆ คน กลับมาให้ความสนใจ โดยเฉพาะสภาพอากาศที่ร้อน ขึ้น ๆ ทุกวันนี้ โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนนี้

แต่หลายคนคงสงสัย เพราะอาจไม่เคยได้ยิน หรือเคยได้ยิน แต่ไม่ทราบความรุนแรงของโรคนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าการรายงานโรคนี้ว่าเสียชีวิตนั้นแทบจะเรียก ได้ว่าน้อยมาก ซึ่งเป็นเพราะเนื่องมาจากความจำกัดในเรื่องนิยามการวินิจฉัย และการรายงานโรคที่ประเมินต่ำกว่าความเป็นจริง(Underestimation) อุปมาอุปมัยเสมือนภูเขาน้ำแข็งคือมีบางส่วนของโรคที่วินิจฉัยได้ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้เราวินิจฉัยเท่านั้น ในส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะเข้าข่าย หรือเป็นโรคนี้แต่เกณฑ์การวินิจฉัยไม่ตรงหรือ อาจไม่ทราบว่า Heat Stroke เป็นสาเหตุการตายครั้งนั้น ๆ

ที่มาของการมีชื่อเรียกหลาย ๆ ชื่อ เพราะเดิมเราแปลมาจากภาษาต่างประเทศ “Heat Stroke” Heat (n) ความร้อน อุณหภูมิร้อน Stroke(n) การเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน, การอุดตั้นหรืออุดกลั้นการไหลวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งถ้าแปลรวม ก็จะได้หลาย ๆ คำนิยามในภาษาไทย เช่น โรคลมร้อน/ ลมแดด/ โรคลมเหตุร้อน / โรคอุณหพาติ โดย มักกล่าวถึงการหมดสติที่มีสาเหตุมาจากอากาศ หรืออุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้น ชาวตะวันตกมักกล่าวว่าโรคนี้เป็นความหลากหลายของอาการในกลุ่มโรคเดียวกัน ซึ่งมีตั้งแต่น้อย จนถึงรุนแรง(Continuum of illness)


สาเหตุหลัก

คือ การที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้น(ภายนอก และภายในร่างกาย)ได้ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย อาจมีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงมาก เช่น

Heat edema --> Heat rash(Prickly Heat)-->Heat Cramp(ตะคริว)-->Tetany(เกร็งกระตุก คล้ายอาการชัก)--> Heat Syncope(เป็นลมหมดสติ)-->Coma (โคม่า ไม่รู้สึกตัว) จนถึงมีผลเสีย หรือกระทบต่อการทำงานของอวัยวะหลาย ๆ ระบบ(MOF; Multiple organ failure)

โดยภาวะ Heat Stroke นี้เป็นอาการที่มีความรุนแรงที่สุด เดิม เคยมีข้อบ่งชี้ในการวินิจฉัยคือ อุณหภูมิกายสูงกว่า 41.1 องศาเซลเซียส(106 องศาฟาเรนไฮต์) ภาวะเหงื่อไม่ออก(anhydrosis) และมีความผิดปกติทางระบบประสาท แต่ในปัจจุบันความรู้ทางด้านนี้มากขึ้น มีการแบ่งกลุ่มจากสาเหตุการเกิดได้ชัดเจน ทำให้ตัดภาวะเหงื่อไม่ออก(anhydrosis) ออกเป็นแค่ข้อบ่งชี้ที่เป็น criteria ประกอบในกลุ่ม Classical Heat Stroke เท่านั้น

ถ้าจะกล่าว ให้ง่ายขึ้นสาเหตุหลัก ๆ ก็คือการเสียสมดุลระหว่าง ความร้อนของร่างกายที่เพิ่มขึ้น(heat production) และ การกำจัดความร้อนออกจากร่างกาย(Heat dissipation) โดยที่ร่างกายม่สามารถลดอุณหภูมิความร้อนที่สร้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดโรคหรือพยาธิสภาพขึ้น ในสภาวะปกตินั้นแกนทั้งสองอันนั้นจะทำงานกันอย่างสมดุล ร่างกายจะสามารถกำจัดความร้อนลงก่อนจะถึงจุดวิกฤติที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้

เพื่อให้เข้าใจเรามาเข้าใจกลไกในการควบคุมอุณหภูมิที่ร่างกายไม่ให้สูงขึ้นเกินจุดวิกฤติ ดังนี้
เรา อาจเปรียบเทียบผิวหนังเราคล้ายเซ็นเซอร์ในการแยกแยะความร้อนเย็นโดยการรับ ความร้อนเย็นนี้จะส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทส่วนปลาย ผ่านไขสันหลังไปยังต่อมใต้สมองส่วนไฮโปทาลามัสส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่เป็น เหมือนเครื่อง Thermostat คอยจัดการกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือต่ำโดยส่งสัญญาณกลับไปยังระบบหรืออวัยวะ ต่าง ๆ ให้มีการปรับตัวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง ตั้งแต่ระดับเซลจนถึงระดับพฤติกรรมของมนุษย์

เช่น ในระดับเซลมีการสร้างโปรตีนบางชนิดขึ้นมาจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้น เช่น โปรตีนที่เปลี่ยนรูปชนิด HSPs (denaturing protein and cellular membrane ชนิด Heat Shock Proteins) และชนิดที่สำคัญคือ HSP-70 ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติสืบต่อกันไปผ่านระบบสารกลุ่ม Cytokines อื่น ๆ หลายประเภททำให้การทำงานของเซลแย่ลง ส่งผลผ่านระบบประสาทไปทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทั่วร่างกายปรับตัวรับความ ร้อนที่สูงขึ้น เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย การกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อ(sweat glands) หลั่งเหงื่อเพื่อระบายความร้อน ขับถ่ายระบายความร้อนมาทางลมหายใจ เหงื่อ ปัสสาวะ กระตุ้นไปยังศูนย์ควบคุมความกระหาย(Thirst Center)ให้เกิดความกระหายและดื่มน้ำเป็นปริมาณมาก กรระตุ้นให้หัวใจทำงานมากขึ้น บีบตัวมากขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงหลอดเลือดส่วนปลายให้พอกับการปรับขยายตัว (hyperdyanamic stage) และช่วยเพิ่มเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจ(Cardiac output)

นอก จากนี้ส่งสัญญาณไปยังตัวรับที่หน่วยกรองของไตให้เก็บน้ำและให้มากขึ้น เพื่อคงความสมดุลกับน้ำที่ช่วยระเหย ระบายความร้อนไปทางช่องทางอื่น ๆ ของร่างกาย ในส่วนของพฤติกรรมนั้นเป็นผลโดยอ้อม เช่น เราจะหาที่ ๆ เย็นกว่าเพื่อช่วยให้ร่างกายเย็นลง เช่นเปิดแอร์ อาบน้ำปะแป้ง เปิดพัดลม สวมเสื้อผ้าบางลง ลดกิจกรรมลง เป็นต้น


ปกติความร้อนในร่างการ เพิ่มขึ้นได้จากหลายสาตุ ความร้อนถูกสร้างขึ้นจากการทำงาน เผาผลาญจากขบวนการปฏิกริยาชีวะเคมีของร่างกายตามปกติ หรือเราเรียกว่า basal metabolic rate(BMR) หรือความร้อนถูกสร้างขึ้นตามปกติ 100 Kcal ต่อชั่วโมง(ราว 1 Kcal/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/ต่อชั่วโมง) ซึ่งเราอาจจะมองภาพไม่ออก ผมอาจจะกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ความร้อนในร่างกายจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 องศาเซลเซียสต่อชั่วโมง

แต่ หากกลไกในการกำจัดความร้อนของร่างกาย(Dissipation process)ไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือราว 5 วัน เราก็ถึงจุดเดือดแบบน้ำต้มสุกแล้ว ในทางตรงกันข้ามการออกกำลังกายหนัก หรือ strenous exercise จะสร้างความร้อนมากขึ้นในร่างกายประมาณ 10 เท่าของ BMR นั่นหมายความว่าหากมีทั้งสองปัจจัยร่วมกันอุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มสูงถึงจุดเดือดภายใน 9 ชั่วโมงเท่านั้นหากกายระบายความร้อนหรือการจำกัดความร้อนในร่างกายเสียหน้าที่ไป

การจัดกลุ่มโรค

เรา แบ่งภาวะ Heat Stroke ออกเป็นสามกลุ่มซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจว่าทำไม การเกิด Heat Stroke ถึงเกิดในอายุ กลุ่ม ชนชาติ เพศที่แตกต่างกันไป

1) การเกิด Heat Stroke จากการออกกำลังกายหนัก (Exertional Heat Stroke; EHS) กลุ่มนี้เกิดขึ้นกับกลุ่มที่มีร่างกายแข็งแรงมาก่อน เช่น เด็กโต วัยรุ่น นักกีฬา ทหารเกณฑ์ทีฝึกหนักในอากาศร้อนจัด ผู้ที่ไม่ฟิตแต่ออกกำลังกายหนักเกินตัว ซึ่งการเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัยภายนอกที่อุณหภูมิร้อนสูงร่วมด้วย

2) การเกิด Classical Heat Stroke (Classic Non-exertional Heat Stroke ; NEHS)
กลุ่ม นี้มักเป็นกลุ่มที่มีอายุมาก กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ผู้ป่วยที่ต้องมียากินประจำ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง คนแก่อายุมากซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนซึ่งไขมันที่มีมากจะเป็นตัวชนวนการระบายความร้อนอย่างดี ผู้ป่วยที่ป่วยนอนติดเตียง(Bed Ridden) ผู้ป่วยเด็กเล็กซึ่งไม่สามารถดูแลตนเองได้ (โดยเฉพาะกลุ่มที่อายุ < style="color: rgb(153, 0, 0);"> (Drug & Substances associated Heat Stroke)พบในกลุ่มที่ใช้ยาประเภท sympathomimetic drugs เช่น สารเสพติดโคเคน ยาแอมเฟตามีน involatile anesthetic agent ยากลุ่ม muscle relaxant (acetylcholne) หรือยากลุ่ม Sedative ซึ่งทำให้เกิด Neuroleptic Malignant Syndrome(NMS) ได้


อุบัติการการเกิด

รายงาน การเกิดไม่ชัดเจนนัก เพราะปัญหาในเรื่องการวินิจฉัย เพราะเมื่อผู้ป่วยที่เกิดภาวะนี้ ในระหว่างการส่งต่อหากมีการช่วยเหลือประคับประคองเบื้องต้น ร่างกายได้รับความเย็นจากเครื่องปรับอากาศในรถฉุกเฉิน หรือในห้องตรวจฉุกเฉิน อุณหภูมิที่วัดโดย Core temperature ซึ่งโดยส่วนใหญ่วัดทางทวารหนักมักจะลดลงจากปัจจัยที่กล่าวมาทำให้การ วินิจฉัยยากขึ้น เพราะอุณหภูมิมักต่ลงมากว่า 41.1 องศาเซลเซียสแล้ว

อุบัติ การการรายงานในไทยมีให้ตกใจเป็นครั้งคราวตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ เช่น ที่เป็นข่าวเร็ว ๆ นี้มีการพบการเสียชีวิตของเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในรถ หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเด็กที่ถูกลืมทิ้งไว้ในรถเสียชีวิตจากขาดอากาศหายใจ แท้จริงแล้วเด็กเหล่านี้เสียชีวิตจากความร้อนสูงเกินขนาดเสียเป็นส่วนใหญ่ พ่อแม่ที่ปล่อยลูกไว้ในรถ ลงไปชอปปิ้ง อาจเปิดเครื่องยนต์เปิดแอร์ไว้ แต่เครื่องเกิดดับขึ้นมาชั่วเวลาเพียงไม่นาน อุณหภูมิภายในรถจะสูงขึ้น หากอุณหภูมิภายนอกสูงเช่นในเวลากลางวัน ความร้อนจะยิ่งทวีคูณอย่างรวดเร็ว

อุณหภูมิ ภายในรถอาจสูงขึ้นถึง 5 องศาเซลเซียสภายในเวลา 10 นาทีแรก ในวันที่อากาศภายนอกประมาณ 32 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในรถสามารถเพิ่มขึ้นถึง 51 องศาเซลเซียส ได้ภายในเวลาเพียงยี่สิบนาที ในเด็กอุณหภูมิภายในร่างกายจะปรับตัวต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมได้ไม่ดีเท่า ผู้ใหญ่ ดังนั้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูงเร็วกว่าผู้ใหญ่ถึงเกือบห้าเท่าตัว


ในประเทศซีกตะวันตกมีการรายงานว่าเป็นสาเหตการเสียชีวิต ประมาณ 25-334 รายต่อปี (CDC Report 1979-2003) ทั้งที่อากาศร้อนน้อยกว่าระเทศเรามาก ในส่วนภูมิภาคเอเชียที่มีรายงานให้เห็นบ่อยคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยังพบว่าหากวินิจฉัยช้าและให้การรักษาไม่รวดเร็วพอ จะทำให้เสียชีวิตถึงร้อยละ 80 และสามารถลดลงได้ถึงร้อยละ 10 จากการช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันท่วงที

ในเรื่องปัจจัยอื่น ๆ เช่น เชื้อชาติ เพศ ไม่ค่อยพบว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้พบอุบัติการต่างกัน แต่มักมีผลอ้อมมาจากกิจกรรม สังคม สิ่งแวดล้อน เศรษฐานะของประชากรกลุ่มนั้น ๆ มากกว่า เช่น พบอุบัติการในผิวดำมากกว่าผิวขาว ประมาณ 3 เท่า เพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า ซึ่งอฺบายจากเศรษฐานะ และและวิถีการทำงานที่แตกต่างกันมากกว่า ส่วนอายุเป็นปัจจัยที่มีผลชัดเจน พบว่ากิดในอายุน้อยกว่าหนึ่งปี และวัยชรามากกว่า โดยพบร้อยละ 44 ของผู้ป่วย Heat stroke ทีเดียว

อาการแสดงของโรค

1) มีอุณหภูมิกายสูงมากกว่า 41 องศาเซลเซียส(hyperthermia) มีเหงื่อออกมากในกลุ่ม EHS และไม่มีเหงื่อออกใน NEHS สัมพันธ์กับประวัติกิจกรรมในที่อากาศร้อนชื้น ถ่ายเทยาก หรือมีประวัติออกกำลังกาย หรือฝึกหนักก่อนมีอาการมาพบแพทย์

2)อาการ ทางคลินิกสามารถรุนแรงมากขึ้นหากมี ภาวะต่าง ๆเหล่านี้ นำมาก่อน เช่น proceeding viral infection, มีภาวะขาดน้ำ, ร่างกายอ่อนเพลีย, มีโรคอ้วน, ผักผ่อนนอนหลับไม่พอเพียง, ร่างกายไม่ฟิตพอ(poorly physical fitness) มีการปรับตัวกับอากาศร้อนไม่ได้ดี(lack of acclimazation)

3) อาการทางระบบประสาท ตั้งแต่กระสับกระส่าย, delusion, มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงจากปกติ, หูแว่วเห็นภาพหลอน(hallucination), ชักเกร็ง และโคมา อาการโคมา อาจมีผลจากการผันผวนของสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย, ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ, ภาวะ hepatic encephalopathy, มีเลือดออกในสมอง จากการบาดเจ็บที่ศีรษะ และอื่น ๆ จนถึงอาการทางสมองบวมจนถึงมีการเคลื่อนตัวของสมองมากดแกนสมอง เป็นต้น

4) อาการที่พบในระบบอื่น ๆ จะช่วยทำให้เรานึกถึงโรคหรือภาวะนี้มากขึ้น

4.1) ด้านสัญญาณชีพ พบ อุณหภูมิกายสูง เหงื่อออก(หรือ ไม่มีหงื่อออก ในกลุ่ม NEHS) ชีพจรเร็ว ความดันปกติหรือสูง ในช่วงต้นโดยมักมี wide pulse pressure(Systolic Blood Pressure-Diastolic Blood Pressure > 40 mmHg) จากการมี peripheral vasodilatation ของหลอดเลือดฝอยส่วนปลาย

4.2) อาจพบการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบ nystagmus ของตา หรือแบบ occulogyric เหลือกไปด้านใดด้านหนึ่ง ม่านตาสามารถขยาย,หด, หรือในสภาพปกติก็ได้ (fixed, dilated, pinpoint or normal pupils)

4.3) ระบบไหลเวียนโลหิต สามารถทำให้เกิด myocardial dysfunction หัวใจจะอยู่ในภาวะ hyperdynamic state , ชีพจรเต้นเร็ว มี high cardiac output index ซึ่งบางครั้งอาจพบว่าความดันโลหิตต่ำ จาก peripheral vasodilatation หรือจาก myocardial dysfunction จนถึงมีอาการหัวใจวาย(High/Low output Heart failure) ได้

4.4) ระบบทางเดินอาหาร มักเกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารร่วมด้วยเสมอ อาจพบอาการตับวายร่วมด้วยได้บ่อย ๆ โดยสามารถดูจากเอ็นไซม์ของตับที่สูงขึ้น ตัวเหลือตาเหลือง เป็นต้น

4.5) ระบบกล้ามเนื้อ จะมีการสลายของกล้มเนื้อ ( rhabdomyolysis) มีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อ จนถึงอาการอ่อนแรงก็สามารถเกิดร่วมได้

4.6) ระบบทางเดินปัสสาวะ พบภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งเป็นผลมาจาก myoglobinemia จาก rhabdomyolysis หรือจากภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจพบสีปัสสาวะแดงขึ้นคล้ายสีโค๊ก สีชา จนเป็นสีเลือดแดงเก่า ๆ ปนเวลปัสสาวะได้

การรักษา

1)ภาวะ นี้ถือว่าเป็นภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่ต้องรีบให้การรักษาโดยทันที ดังนั้นผู้ประสบเหตุจึงเป็นกุญแจสำคัญในการรักษา เพราะถ้านึกถึง สงสัย และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น จนถึงส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วจะช่วยลดอัตราตายลงได้ถึงร้อยละ 10 ส่วนการวัดไข้ต้องวัดโดยทางทวารหนักจะเที่ยงตรงที่สุดเพราะเป็นตัวสะท้อน core temperature ที่ดี ควรรับผู้ป่วยไว้ติดตามอาการต่าง ๆใน รพ. อย่างน้อย 48 ชม. ในหอผู้ป่วยวิกฤติ(ICU)

2)ลดอุณหภูมิกายลงโดย ค่อย ๆ ลดลงมาที่ 39 องศาเซลเซียสก่อน ยังไม่ต้องรีบลดลงจนเป็นปกติเร็วเกินไป ถอดเสื้อผ้าออก พ่นละอองฝอยของน้ำเป็นสเปรย์ละเอียดหับร่างกายผู้ป่วยคลุมด้วย Water Soak Sheet หรืออาจเอาถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้และขาหนีบทั้งสองข้างร่วมไปด้วย

3) ใส่ท่อช่วยหายใจถ้าจำเป็น ให้ออกซิเจนผู้ป่วย

4) เปิดเส้นเลือดดำ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดให้พอเพียง แก้ไขภาวะน้ำตาลในหลอดเลือดหากพบว่ามีการต่ำกว่าปกติ

5) หัวใจหรือหลักการรักษา ต้องค่อย ๆลดอุณหภูมิกายลง 0.2 องศาเซลเซียส ต่อนาที จนลงมาที่ 39 องศาสเซลเซียสก็พอเพียง เพราะไม่ต้องการให้ลดเร็วจนเกินไป โดยวิธีการรักษาในห้องฉุกเฉินหรือไอซียูนั้นการใช้ละอองน้ำพ่นใส่ (intermittent spray)โดยใช้ละอองน้ำอุ่น ๆ ร่วมกับเปิดพัดลมเป่า จะช่วยส่งเสริมการระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดีที่สุด ซึ่งอ้างว่าจะปลอดภัยกว่าวิธีเดิมที่ใช้ Ice-water immersion เช่นจุ่มลงในน้ำผสมน้ำแข็ง เพราะจะทำให้เกิด shivering ,peripheral vasoconstriction ทำให้ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้น ระบายไม่ออกจากร่างกาย

6) การลดความร้อน อื่น ๆ ไม่มีข้อสนับสนุนชัดเจน ทางวิชารว่าดีแต่ยังสามารถทำได้ เช่น การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหาร(stomach), ช่องท้อง(peritoneal),ทวารหนัก(rectum) แล้วทำการล้างด้วยน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง การใช้น้ำเกลือที่มีความเย็น(Cold sal, ne),ใช้ไอออกซิเจนเย็น(Cold humidified oxygen)ให้ผู้ป่วย จนถึงการทำ Cardiopulmonary bypass แต่มักทำได้ยากเพราะมักต้องใช้เครื่องมือ บุคลากรที่มีความรู้

7) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำควรพอดี โดยเฉพาะช่วงแรก เน้น Coolling อย่างเดียวก็สามารถทำให้ทุกอย่างกลับมาปกติ แต่ถ้ามีการสลายของกล้ามเนื้อ (rhabomyolysis) มี hemoglobinemia ซึ่งพบราว 25-30 % อาจต้องให้สารน้ำมากขึ้น(บางครั้งอาจถึง 10 ลิตร) ทำปัสสาวะให้เป็นต่าง ร่วมกับการให้ manitol โดยพยายามให้มีปัสสาวะออกราว 3 ซีซีต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ต่อชัวโมง พยายามให้ปัสสาวะมีความเป็นด่าง pH 7.5-8

8) ตรวจหาติดตามการเกิด MOD(multiple organ dysfunction) และรีบแก้ไขให้กลับสู่ปกติ

ดังที่กล่าวมาถ้าเป็นแล้วการรักษามีความยุ่งยากและซับซ้อน ดังนั้นเราควรป้องกันไว้ก่อน จะดีที่สุด

การป้องกัน

1) ในสภาวะที่อากาศร้อนมาก ควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตร ต่อวัน(ราว 6-8 แก้ว) หลีกเลียงอากาศร้อนชื้น ถ่ายเทไม่สะดวก

2) ในการออกกำลังกายในช่วงอากาศร้อนไม่ควรโหมหนัก ต้องรู้จักพัก, warming up และ warm down

3) ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และโปร่งสบาย เช่น ผ้าฝ้าย

4) สำหรับเด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ในช่วงที่อากาศร้อนมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ควรต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด ช่วยหาอาหารและน้ำให้รัปประทานอย่างเพียงพอ

5) ใช้หลักการ Risk modification behavior เช่น อาบน้ำทำตัวให้เย็นสบาย ปะแป้ง เปิดแอร์ เปิดพัดลมคลายร้อน งดอาหารประเภทมีแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อารเพิ่มความร้อนในร่างกายเช่น ยาแอมเฟตามีน โคเคน ยารักษาโรคบางชนิดที่กินประจำแต่อาจมีผลรบกวนในเรื่องระบายความร้อน ก็อาจปรับเปลี่ยนให้เหมะสม

6) อาการแสดงที่บอกเราว่าจะเกิดภาวะนี้ได้แก่ เมื่อเราอยู่ในที่อากาศร้อน ชื้น การถ่ายเทไม่ดี หรือร่วมกับการฝึกหรืออกกำลังกาย อย่างหนัก หากมีอาการเหล่านี้ เหงื่อออกมาก หน้าซีด
ตะคริว อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม ตัวร้อนจัด ควรนึกถึงโรคนี้และรีบนำผู้ป่วยส่ง รพ.ทันที

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MSc. In ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ร้อนนี้ ร้อนกาย ทำอย่างไรไม่ให้ร้อนใจ มารู้เท่าทันและเตรียมตัวสู้กับ 7 โรค ฮิตที่มากับหน้าร้อนนี้ กันเถอะ

ปีนี้ถึงแม้อากาศจะเปลี่ยนแปลงร้อนๆ หนาวๆ ไม่คงที่ แต่ยังไงประเทศไทยที่เป็นประเทศที่อยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร อย่างไรก็คงหนีไม่พ้นอากาศร้อนในช่วงฤดูร้อนนี้ไม่ได้ แน่นอนอากาศคงจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ตามกระแสของโลกของเราที่ร้อนขึ้นทุก ๆ วัน หากทุก ๆ ประเทศในโลก ยังคงไม่ตระหนักหรือแก้ปัญหาที่ต้นเหตุกัน ปัญหาที่พบกันบ่อย ๆ กันในแง่ของมุมมองสุขภาพก็คือปัญหาการเกิดโรคภัยต่าง ๆ รวมถึงโรคติดเชื้อ นั้นก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าหนาว หรือฤดูอื่น ๆ เลยทีเดียว ดังนั้นหากเราไม่รู้เท่าทันหรือไม่รักษาสุขภาพกัน ก็อาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายในช่วงหน้าร้อนที่จะมาถึงนี้

โรคที่พบบ่อย ๆ มีทั้งกลุ่มโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่เป็นผลพวงมาจากอากาศที่ร้อนจัดนี้ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัดหน้าร้อน โรคผิวหนัง โรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยง โรคหรือภาวะที่เป็นผลกระทบโดยตรงจากอากาศร้อน เช่น โรคเครียด การเป็นลมหมดสติจากอากาศร้อนจัด เป็นต้น

1.โรคอุจจาระร่วงหน้าร้อน

สาเหตุ เกิดได้จากการติดเชื้อหลายประเภททั้ง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือกลุ่มเชื้อโปรโตซัว ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่มีโอกาสบูดเสียได้ง่ายมากขึ้นในอากาศที่ร้อนจัด ขึ้น และเมื่อร่วมกับสุขอนามัยที่ไม่สะอาดแล้วสามารถเกิดการระบาดของโรคอุจจาระ ร่วงหน้าร้อนนี้ ในชุมชนหรือในวงกว้างได้ง่ายดาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักสามารถให้การดูแลรักษาเยียวยาได้ไม่ยากหากมาพบแพทย์ แต่เนิ่น ๆ แต่ก็ควรระวัง เพราะเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นสาเหตุสามารถทำให้เกิดอาการท้องร่วง รุนแรง มีอาการขาดน้ำ สูญเสียเกลือแร่จากร่างกายได้มากจากการถ่ายหรืออาเจียน ซึ่งก็คือเชื้ออหิวาตกโรค (Vibrio Cholera) ซึ่งประเทศไทยเคยประกาศว่าไม่เกิดโรคนี้แล้ว แต่ในความเป็นจริงก็ยังพบว่าเกิดการติดเชื้อได้ในบางท้องที่ในช่วงหน้าร้อน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่นเชื้อบิด(dysentery) โรคไทฟอยด์(Typhiod) โรคพาราไทฟอยด์(Paratyphiod) และโรคไข้เอนเทอริก(Enteric Fever) รวมถึงยังพบว่าเชื้อไวรัสหลายตัวเป็นสาเหตุได้เช่นกัน เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสคอกซากี ไวรัสโรต้าซึ่งนอกจากจะระบาดเกือบทุกฤดูแล้ว ก็ยังพบว่าระบาดมากในหน้าร้อน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเด็กซึ่งมักพบบ่อยและบางครั้งติดต่อมายังผู้ใหญ่ อย่างเราได้ง่ายเช่นเดียวกัน ในบางครั้งถ้าอาการไม่รุนแรงก็สามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองได้ เช่น การรับประทานผงเกลือแร่ผสมน้ำดื่มเพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ สูญเสียเกลือแร่ หากรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้นก็ควรมาพบแพทย์ เพราะเชื้อแบคทีเรียบางชนิดจำเป็นต้องได้รับ ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษา และที่สำคัญไม่ควรซื้อยาประเภทเพื่อให้หยุดถ่ายด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการมากขึ้นจนถึงกับต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ส่วนสาเหตุที่เกิดจากเชื้อไวรัสมักไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพียงให้การรักษาประคับประคองก็อาจเพียงพอ แต่ควรระวังในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด โรคระบบไต หรือโรคที่ภูมิต้านทานไม่ปกติก็ควรมาพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ จะปลอดภัยกว่า

2.โรคอาหารเป็นพิษ

จริง แล้วก็จัดเป็นกลุ่มโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารด้วยเช่นเดียวกัน แต่ที่แยกออกมา เพราะพบได้มากเป็นพิเศษในช่วงฤดูร้อน สาเหตุเกิดจากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ(toxin) ที่สร้างโดยเชื้อแบคทีเรีย เช่น กลุ่ม toxin จากเชื้อบิด (shigella),เสต็ปโตคอกคัส (staphylococcus aureus), บาซิลลัส (bacillus cerius) ซึ่งมักเป็นสารที่ทนความร้อน พบบ่อยในอาหารประเภทไส้กรอก กุนเชียง ข้าวผัดต่าง ๆ ในบางครั้งถึงแม้เราพยายามจะกินอาหารที่สุก ร้อน แต่หากส่วนผสมก่อนนำมาปรุงอาหารเกิดอาการบูดเสียก่อน ก็จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ หรือปวดเมื่อยอ่อนเพลีย จนถึงท้องร่วงจากสารพิษที่ทนความร้อนซึ่งสร้างโดยเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม นี้(heat stable toxin) โดยส่วนใหญ่ดังที่กล่าวไปเนื่องจากเป็นสารที่แบคทีเรียสร้าง แต่ไม่มีตัวเชื้อที่มีชีวิต การรักษาโดยวิธีประคับประคอง ร่วมกับเมื่อผู้ป่วยอาเจียนหรือถ่าย ระบายสารพิษที่มีผลต่อร่างกายออกไปแล้ว อาการมักดีขึ้นและสามารถหายเองได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาการจะเกิดประมาณ 6-12 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ คลื่นใส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วงตามมา หากพบว่าบางรายมีอาการมากเช่น มีอาการขาดน้ำมาก ปวดท้อง หรืออ่อนเพลียมาก รับประทานสารน้ำเกลือแร่หรืออาหารไม่ได้ ก็ควรมาปรึกษาแพทย์

3.โรคไข้หวัดหน้าร้อน

เป็น โรคที่พบได้บ่อย สาเหตุมาจากเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ซึ่งแม้จะพบน้อยลงกว่าหน้าหนาว แต่ก็ยังพบว่าเป็นปัญหาอยู่ อาการแสดงอาจถูกกระตุ้นจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของอาการ ร้อน ๆ เย็น ๆ ร่วมกับการรับเชื้อไวรัสไข้หวัดเข้าไป โดยมีอาการตั้งแต่น้อยไปถึงมาก เช่นอาการหวัดธรรมดา จนถึงหลอดลมอักเสบ ปอดบวม อาการแสดงตั้งแต่ ไอ จาม ปวดหัว ตัวร้อน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อตามตัว ดังนั้นหากไม่ต้องการป่วยจากไข้หวัดฤดูร้อน ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่เป็นแหล่งรวมโรคกลุ่มนี้ เช่น สถานที่ที่มีคนอยู่แออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนต์ ตลาด ดังนั้นความคิดที่ว่าควรหลบร้อนไปเดินรับแอร์เย็น ๆ ในสถานที่เหล่านี้ก็ควรระมัดระวังให้ดี หากเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ไม่สบาย ก็ไม่ควรไป แต่หากพบว่าติดเชื้อไข้หวัดเข้าแล้ว ก็ไม่ต้องตกใจมาก เพราะถึงแม้ปีนี้จะมีอุบัติการณ์ของไข้หวัด 2009 ระบาดมาระลอกหนึ่งแล้ว หากเรารู้จักดูแลตนเอง เช่น พักผ่อนให้พอเพียง ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ รับประทานอาหารร้อน ๆ หากมีไข้สูงก็กินยาพาราเซตตามอลลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเล็กน้อย ก็จะช่วยให้ไข้ลงได้เร็วและสบายตัวขึ้น ควรแยกนอนกับคนอื่น ๆ ในครอบครัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์ ซึ่งการตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ B (ซึ่งไข้หวัด 2009 นั้นอยู่ในกลุ่มสายพันธ์ A) ปัจจุบันสามารถตรวจได้รวดเร็วจากการตรวจเสมหะ โดยใช้เวลาไม่นาน ค่าตรวจก็ถูกลงมาก
โดยแพทย์จะสั่งส่งตรวจในรายที่สงสัย และให้ยาต้านไวรัส(Oseltamivir) เพื่อให้การติดเชื้อดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าค่อนข้างปลอดภัยทีเดียว ในกรณีที่บางรายอาการมาก อาจต้องระวังว่าอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แพทย์ก็มักจะสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทานร่วม ก็จะทำให้อาการดีขึ้นเร็ว

4.โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผดร้อน

แทบ จะหลีกเลี่ยงกันยาก เพราะอากาศที่ร้อน สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานในห้องปรับอากาศ คงจะเหงื่อไหล ร้อน เหนียวตัว เกิดเม็ดผดผื่นคัน หรือที่เรียกว่าผดร้อน(prickly heat) หากรักษาความสะอาดผิวหนังไม่ดี ก็อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เกิดผิวหนังอักเสบ รูขุมขนอักเสบ และแผลตุ่มหนองขึ้น จากเชื้อแบคทีเรียตามผิวหนัง นอกจากนี้ยังอาจเกิดการติดเชื้อราตามจุดอับชื้นต่าง ๆ เกิด กลาก เกลื้อน
ได้ บ่อยมากขึ้นในหน้าร้อน หากเข้าเทศกาลสงกรานต์ หากมีโอกาสสัมผัสกับน้ำที่ไม่สะอาดจากการเล่นน้ำสนุกสนานกัน ก็จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคต่าง ๆ เหล่านี้ง่ายขึ้น ควรพยายามรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำบ่อย ๆ ใส่เสื้อผ้าไม่หนามากเกินไป ก็จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงได้มาก กรณีหากสงสัยว่ามีการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่ใช่ผดร้อนธรรมดา ควรไปพบแพทย์เพื่อการรักษา

5.โรคจากสัตว์เลี้ยง หรือโรคพิษสุนัขบ้า(โรคกลัวน้ำ)

เป็น โรคที่พบบ่อยในหน้าร้อน สาเหตุจากเชื้อไวรัส Rabie ที่มีอยู่ในน้ำลายของสัตว์และติดต่อจากการถูกกัด ข่วน เลียบาดแผล โดยสุนัขจรจัด แมว หรือสุนัขเลี้ยงก็ได้หากสุนัขไม่ได้ รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคกลัวน้ำอย่างต่อเนื่องทุกปี โรคนี้ถือว่าเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงหากติดเชื้อ และไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ไม่น้อยเลยทีเดียวต่อปี ดังนั้นหากถูกสุนัข แมว กัด ข่วน เลียบาดแผล ก็ควรรีบมารับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทันที หากสงสัยว่าสัตว์เหล่านี้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือมีอาการป่วย เข้าข่ายสงสัยว่าอาจเป็นโรค แนะนำว่าควรฉีดทุกรายที่ถูกแมว หรือสุนัขจรจัดกัด ข่วน เลียบริเวณที่มีบาดแผล เพราะกลุ่มนี้ เรามักไม่สามารถสังเกตุอาการได้เหมือนสุนัข หรือแมวเลี้ยง

6.โรคเครียด-หงุดหงิด-ปวดศีรษะ

ปกติ เกิดได้ทุกฤดูแต่มักพบว่าปัจจัยด้านอากาศที่ร้อนจัด จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอาการเหล่านี้ได้บ่อยขึ้น อาการเหล่านี้ได้แก่ ปวดศรีษะ หงุดหงิด นอนไม่หลับ ฉุนเฉียวโมโหง่าย ทะเลาะกับคนรอบข้างได้ง่ายขึ้น วิธีแก้ควรแก้ที่ต้นเหตุ เช่น หลบเลี่ยงอากาศที่ร้อนอบอ้าวไปที่เย็น ๆ เช่น ห้องแอร์ แต่ในภาวะโลกร้อนหากจะช่วยรณรงค์กันสักนิด ก็อาจใช้พัดลม อาบน้ำบ่อยขึ้น ปะแป้งเย็น ทำจิตใจให้สบาย ใส่เสื้อผ้าบาง ๆ ที่ระบายอากาศได้ง่าย นั่งใต้ร่มไม้ หางานอดิเรกทำ ฝึกฝนจิตใจและสมาธิให้รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา ใจเย็น ค่อยพูดค่อยจา ก็จะทำให้ภาวะเครียดนี้ดีขึ้น หากเป็นมากก็สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อรับยาช่วยลดอาการเครียดหรือให้นอนหลับได้ดีขึ้นก็จะช่วยได้มาก

7. อาการเป็นลมจากอาการร้อน (heat stroke)

พบ รายงานอุบัติการบ่อยขึ้น จะเกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในที่มีอากาศร้อนจัด อบอ้าวการถ่ายเทของอากาศรอบตัวได้ไม่ดี ถึงแม้เหงื่อจะช่วยระบายความร้อนจากร่างกาย แต่บางครั้งอากาศที่ร้อนมาก อบอ้าว ดื่มน้ำน้อยก็จะทำให้มีโอกาสเป็นลมจากอากาศร้อนได้มากขึ้น เพราะเส้นเลือดส่วนปลายขยายตัวมากในสภาวะอากาศภายนอกที่ร้อนจัด หากผู้ป่วยดื่มน้ำน้อย ความดันโลหิตที่ต่ำลงจากการขยายตัวของหลอดเลือดในกรปรับตัว มักทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนกลางลดลง เกิดอาการวิงเวียนหน้ามืดและเป็นลมล้มลงในที่สุด การรักษาคือให้นอนราบ ปลอดเสื้อผ้าให้หลวม ย้ายผู้ป่วยไปในที่อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดื่มน้ำมาก ๆ ค่อย ๆ ทำให้อุณหภูมิกายลดลง เช่น การเช็ดตัวด้วยน้ำก็จะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาลโดยเร่งด่วน


ทำอย่างไร เพื่อให้หน้าร้อนนี้มีสุขภาพดี ไม่ต้องเสี่ยงกับโรคเหล่านี้
9 ข้อแนะนำและควรปฎิบัติสำหรับหน้าร้อนนี้

1.เลือก การบริโภค อาหาร น้ำ ที่สุกและสะอาด พิถีพิถันในการเลือกอาหารสด เนื้อ หมู ไก่ ปลาก่อนปรุง ควรสด สะอาด ไม่บูดเสียสภาพ ก่อนนำมาปรุงอาหาร อาหารบางอย่างที่ต้องการความสด เช่น อาหารทะเล ควรต้องระวังการปนเปื้อนกับน้ำยาฟอร์มาลิน หากไม่แน่ใจไม่ควรซื้อมารับประทาน

2.รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอย่างพอเพียง อย่างน้อยประมาณ 6-8 แก้ว ต่อวันขึ้นไป

3.เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้ เหมาะสม สำหรับหน้าร้อนควรเลือกใช้ผ้าบาง ๆ หรือประเภทที่ถ่ายเทความร้อนได้ง่าย เช่น ผ้าฝ้าย ซึ่งระบายความร้อนได้ดี เลือกสีอ่อน ไม่สวมใส่สีดำซึ่งจะอมและดูดความร้อน ใช้สีโทนเย็น เช่น ฟ้า เขียว จะช่วยให้จิตใจสบาย ร่วมกับการเปิดหน้าต่างประตูบ้าน ให้โล่ง ระบายถ่ายเทความร้อนให้ดี

4.อาบน้ำบ่อยขึ้น ปะแป้งเย็น ปรับสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ให้เหมาะกับฤดู เปิดหน้าต่าง ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา เปิดเครื่องปรับอากาศ พัดลม หากจำเป็นแต่ให้เหมาะสม

5.หลีก เลี่ยงการออกนอกบ้านหากไม่มีกิจธุระ ที่จำเป็น เป็นการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศร้อนจัด แดด ลดการใช้น้ำมันซึ่งช่วยลดโลกร้อนไปด้วยในตัว เวลาที่แนะนำไม่ควรออกก็คือช่วงที่ร้อนจัดราว 11.00-14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงร้อนจัดของวัน หากจำเป็นต้องออกควรหาหมวกสวมใส่ เตรียมน้ำดื่ม รวมถึงการดื่มน้ำมาก ๆ และบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการเสียเหงื่อ อาศัยร่มเงาไม้ช่วยก็พอช่วยคลายร้อนลงได้มาก

6.งดดื่มแอลกอฮอล์หรือ เครื่องดื่มที่ผสมแอลกกอฮอล์ทุกประเภท เพราะยิ่งอากาศร้อนอบอ้าวมากการดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง ร่างกายจะสามารถซึมผ่านแอลกอฮอล์เข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น ปัสสาวะบ่อย ขาดน้ำ น้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ซึ่งร่างกายอาจปรับตัวใม่ทันทำให้ป่วยได้ง่าย

7.ดูแลสัตว์เลี้ยงให้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคกลัวน้ำสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสียงของตนเองและผู้อื่น

8.ฝึกสมาธิ หางานอดิเรกเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ลดภาวะเครียด หงุดหงิดลงได้ดี

9.หาก เกิดปัญหาเจ็บป่วยด้วย 7 โรคที่พบบ่อยหน้าร้อนดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นอันตรายและมีอาการมากขึ้น


หากเราสามารถทำตามข้อแนะ นำซึ่งเน้นไปในแนวทางป้องกัน ปรับตัว และรักษาด้วยตนเองแบบปฐมภูมิก่อนได้ตามที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น จะช่วยให้หน้าร้อนนี้ เรามีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี ไม่เจ็บป่วย เสมือนคำกล่าวว่า อากาศร้อน กาย-ใจไม่ร้อน ก็ไม่เจ็บป่วย ครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Certificates in Pediatric Emergency Medicine,
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเสพยาแก้ไอ เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่

การเสพยาแก้ไอ เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่

ตอนนี้คาดว่าทุกคนคงตระหนกตกใจกับข่าวที่เด็กนักเรียนวัดท่าพระกว่า 50 ราย เสพยาแก้ไอ dextromethrophan เกินขนาด โดยรุ่นพี่ซื้อยาแก้ไอจากร้านเกมส์ มาเสพและขายต่อให้รุ่นน้อง โดยอ้าง ว่าลดการเจ็บปวดจากการถูกทำโทษ และสมองปลอดโปร่ง หน้าขาวนวล ซึ่งปัจจุบันพบมากขึ้นว่าการนำมาใช้เพื่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม หรือหวังผลให้เกิดการเมาโดยไม่ต้องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเอามาใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น ไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวด เมื่อถูกครูทำโทษ(ตี)พอฟังผู้จำหน่ายกล่าวเหตุผลแล้วยิ่งรู้สึก อ่อนอกอ่อนใจ สะท้อนสภาพสังคมไทย แทนที่จะช่วยกันตักเตือนหรือวางมาตรการที่เข้มแข็งกลับส่งเสริมแนะนำไปในทาง ที่ผิด ที่ว่าเป็นเรื่องเก่า เพราะเดิมมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในคนไข้กลุ่มที่ติดยาแต่ไม่ค่อยจะมีเงิน หรือคนไข้จิตเวชบางกลุ่ม โดยทราบมาว่ากลุ่มผู้ป่วย หรือกลุ่มคนเหล่านี้จะใช้ยาแก้ไอน้ำสูตรที่มี Dextromethrophan Hbr มาผสมกับน้ำอัดลมดื่มกัน หลังจากที่มีการปราศระงับการใช้ยาแก้ไอที่มีสูตรโคดีอีน เพราะเป็นสารเสพติด ปกติยาตัวนี้เป็นยาแก้ไอหากกินในขนาดที่แพทย์สั่งจะช่วยในการระงับอาการไอ แต่กลุ่มผู้หัวใส ก็นำมาใช้ผสมให้มากกว่าขนาดรักษา เพื่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม (euphoria) เหมือนการเสพสุรา ซึ่งต่างจากข่าวที่ออกมาครึกโครมสองสามวันนี้ที่ใช้ยาเม็ดมาบริโภคเพื่อให้ เกิดอาการเคลิบเคลิ้มในปริมาณที่มากกว่า 5-10 เม็ดขึ้นไป ซึ่งก็เข้าอีหรอบเดิมแหละครับ แต่ข่าวคราวนี้จะช่วยปลุกกระแส การตระหนักถึงปัญหาการใช้ยากลุ่มนี้ ตลอดจนการปฏิรูประบบร้านขายยาในประเทศไทยอีกครั้งก็เป็นไปได้

ราวกลางปี พศ. 2548 FDA ของอเมริกา เคยประสบปัญหาการใช้ยาแบบเดียวกันในผู้ป่วยกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นและได้ ประกาศทางเว็บไซต์เผยแพร่ และกังวลกับผลกระทบจากการใช้ยาแก้ไอนี้ผิดวิธี พราะเป็นกลุ่มยาที่สามารถหาซื้อง่าย และจัดเข้ากลุ่มยาบรรจุเสร็จ สามารถซื้อขายได้โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ หลังจากมีวัยรุ่นเสียชีวิตราว 5 ราย ด้วยการใช้ยา dextromethrophan เกินขนาดในรูปผงบรรจุแคปซูล
ปกติยาชนิดนี้ ใช้เป็นยาแก้ไปประเภทที่กดศูนย์การไอ หรือเราเรียกว่า cough suppressant ซึ่งไม่ค่อยนิยมใช้ในเด็กเล็ก เพราะจะทำให้เสมหะไม่ระบายออกหากกดอาการไอแต่สามารถใช้ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ในขนาดรักษาได้โดยปลอดภัย แต่เมื่อมีการใช้ยาเกิดขนาดรักษา เช่นผู้ที่มุ่งหวังมาใช้เสพ เพื่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มซึ่งมักต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่าปกติ อาจทำให้เกิด อาการเมา เคลิบเคลิ้ม สุขสบาย หากสูงมาก ๆ หรือบริโภคเป็นเวลานาน ๆ จะสามารถทำลายสมอง ชัก หมดสติ อาการทางจิต หรือการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ การนำมาใช้ผิดวิธีนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เดิมเคยมีรายงานมานานแล้ว และรูปแบบการใช้ยังประยุกต์ใช้ ตั้งแต่ยาแก้ไอน้ำ(ผสมน้ำอัดลม) เม็ด หรือนำมาบดเป็นผงใส่ capsule และมีการขายอย่างแพร่หลายให้ผู้ที่เสพสารเสพติดในหลาย ๆ ประเทศ และเนื่องจากสามารถซื้อขายได้ง่ายทำให้เกิดการแพร่กระจายการใช้ในรูปแบบนี้ ซึ่งพบปัญหาในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะอเมริกา

Dextromethrophan หรือชื่อย่อ DXM การใช้แก้ไอในขนาดที่แพทย์สั่งจะมีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงน้อย แต่การนำมาใช้ในทางที่ผิดไม่ว่าจากการแนะนำต่อ หรือผู้ป่วยค้นพบผลการเคลิ้มสุขได้ด้วยตนเองนั้น เราเรียกว่าการใช้ในทางที่ผิด หรือ “abuse” ทางโครงสร้างยานั้น มีความใกล้เคียงกันกับยาโคเดอีน ค่อนข้างมาก ต่างกันเล็กน้อย แต่ไม่กดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่นเดียวกับยาสูตรโคดีอีน
กลไกการออกฤทธิ์ นั้น DMX เป็น dextro isomer คล้ายกันกับตัวต้นแบบของโคดีอีน ซึ่งก็คือ levorphanol แต่โมเลกุลหมุนบิดไปด้านขวา ทำให้กลไกการออกฤทธิ์ต่างกันไป ตัวยาจะไประงับการไอโดยออกผลที่ศูนย์ควบคุมการไอที่สมองส่วนเมดดัลลา ซึ่งอยู่ในบริเวณแกนสมอง โดยไปเพิ่ม threshold (กำแพง)ของศูนย์ควบคุมการไอ ทำให้ไอน้อยลง (ออกฤทธิ์ที่ opiate alpha receptor) แต่จะไม่มีฤทธ์แบบ opiate หรืออนุพันธฺฝิ่น ซึ่งกดการไอ ระงับอาการปวด กดการหายใจ และเสพติด ในขนาดที่แพทย์แนะนำให้ใช้ ยาจะโดซึมทางลำไส้ได้ดีออกฤทธิ์เร็วภายใน ครึ่งชั่วโมงหลังกิน เมื่อเข้าสู่ร่างการจะถูกเอนไซม์ในตับเปลี่ยนรูป (Cyp P450 isoenzyme 2D6) ให้เป็น dextrophan ซึ่ง active และสามารถจับและยับยั้งที่ NMDA Receptors ทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข จนถึงอาการประสาทหลอน กระตือรือร้น เหมือนการออกฤทธิ์จากยา Phencyclidine ที่เป็นยาจิตเวช และอาจออกฤทธิ์ที่ serotonin receptor เหมือนกลุ่มยา LSD ที่เป๋นสารเสพติดนิยมกันในสมัยก่อน ดังกล่าวจะเห็นว่าผลการออกฤทธ์ จะออกแตกต่างกันไป เพราะ เอ็นไซม์ Cyp P450 isoenzyme 2D6 ที่นำมา metabolite ให้เกิดสาร Active metabolite นั้น มีส่วนเก่ยวข้องกับพันธุกรรม เพราะสร้างออกมาไม่เท่ากัน ทำให้สาร dextrophan ที่ถูกเปลียนโดยตับนั้นสร้างออกมาแปรผันกันไป ถ้า metabolite ยาได้มาก(มี เอนไซม์มาก) ก็จะมีอาการได้มากและเร็วกว่า ขนาดของยาที่ใช้ได้โดยปลอดภัยนั้น ในเด็กแนะนำให้ใช้ Dextromethrophan Hbr (Romilar) 1mg/kg/day tid-qid (15 mg/tab) ไม่แนะนำให้ใช้ในการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในกรณีที่มีเสมหะ หรือไอมีเสมหะ เพราะจะกดการไอ ยาแก้ไอน้ำมักมีตัวยาอยู่ 10mg/5 ml(หรือ 1 ช้อนชา) ยาอมจะมี 5mg/เม็ด (ซึ่งผมไม่เคยใช้)


ขนาดที่แนะนำโดยฉลากยา ขนาดใช้ยาในเด็ก : อายุต่ำกว่า 2 ปี : ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น , อายุ 2-5 ปี : รับประทานยาน้ำเชื่อมครั้งละค่อน (1/4)-1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อมีอาการไอ ,อายุ 6-12 ปี: รับประทานยาน้ำเชื่อมครั้งละครึ่ง (1/2)-1 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมงหรือยาเม็ด ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมงตามอาการที่เป็น สำหรับยาอม ให้อมครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง
ขนาดใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 12 ปีและผู้ใหญ่ รับประทานยาน้ำเชื่อมครั้งละ 1 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมงหรือ ยาเม็ด ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมงตามอาการที่เป็น สำหรับยาอมให้อมต่อเนื่อง 2 เม็ด ทุก 4-8 ชั่วโมง ขนาดที่ปลอดภัยใช้ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่คือ 15-30 มก. แต่ผู้ที่ใช้ในทางที่ผิดมักต้องใช้ในขนาดสูง คือราว 360 มก.(ตั้งแต่ 3-10 เม็ดขึ้นไป ต่อครั้ง) โดยสามรถทำให้เกิดอากรเคลิ้มสุข(euphoria) ไปจนถึง อาการประสาทหลอน คล้ายกับผลของยา phencyclidine หรือ ketamine (ยา K) และจะออกฤทธิ์ยาวประมาณ 6 ชม. จึงจะหมดฤทธิ์ ไปเอง พบรายงานหากใช้ในขนาดสูง อาจทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดภาพหลอน ทำร้ายผู้อื่น ชัก หรือเสียชีวิตได้ อาการสังเกตุของการได้รับพิษเฉียบพลันจากการได้รับ DMX เกินขนาด ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงนอน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ม่านตาขยาย พูดไม่ชัด เคลิบเคลิ้ม หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะไม่ออก ประสาทหลอน หรือ กระวนกระวาย สั่นเทิ้ม ชัก ปวดศีรษะ ทั้งนี้ยา Dextromethrophan ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม คือผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 125 มิลลิกรัม หรือ 8 เม็ดต่อวัน ส่วนเด็กไม่ควรเกิน 62 มิลลิกรัม หรือ 4 เม็ดต่อวัน

ผลต่อเซลสมองอาจถูกทำลายถาวร หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่จะไม่มีผลกดการหายใจ และภาวะรูม่านตาเล็ก เหมือนอนุพันธ์ฝิ่น หากใช้ในปริมาณมากมักจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่ มีอากาศร้อน ถ่ายเทได้ไม่สะดวกหรือร่วมกับการออกกำลังกายหนัก ๆ ในบางครั้งตัวยาจะผสมยาแก้แพ้เช่น CPM อยู่ประมาณ 2-4 mg ก็จะส่งเสริมให้เกิดอาการง่วงซึมมากขึ้น

Dextromethorphan เป็นที่รู้จักดีในหมู่วัยรุ่นในหลาย ๆ ประเทศ ว่าเป็นยาที่สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยมีชื่อเรียกที่เป็นคำเฉพาะในหมู่ผู้ใช้ ได้แก่ red devil, poor man’s PCP, DXM, CCC, robo, และ Dex พบว่ามีข้อมูลมากมายในเว็บไซต์กลับแนะนำให้ใช้ยาไปในทางที่ผิด ใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดฤทธิ์เคลิ้ม และมีขายทางอินเตอร์เนตอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยาหาง่าย ควบคุมยาก จากประสบการณ์ที่ได้รับการบอกเล่ามา เมื่อครั้งไปฝึกงานที่อเมริกา แพทย์ที่นั่นกล่าวว่าหากโรงเรียนค้นพบว่าเด็กพกยากลุ่มนี้ ร่วมกับพฤติกรรมชวนสงสัย เช่นพบยาในตู้เก็บของส่วนตัว ในปริมาณมากกว่าปกติ จะถูกจับตามองเป็นพิเสษ แต่ก้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง เพราะเป็นเรื่องปกติที่บางครั้งผู้ปกครองอาจพบว่าเด็กพกยานี้ เห็นในห้องนอน ก็อาจเป็นเรื่องปกติทั่วไปได้ การใช้ยานี้เป็นเวลานาน ๆ นอกจากผลจากยา dextrophan ซึ่งเป็นผลจาการเมตาโบไลต์แล้ว ยังสามารถเกิดพิษจกากรสะสมของเกลือไฮโดรโบรไมด์ (HBr) ได้ เพราะยามักถูกเตรียมในรูปนี้ แต่อาการพิษน้อยกว่า เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย จนถึงหมดสติ หยุดยาจะหายไป

จากการสำรวจในต่างประเทศพบว่าขนาดที่ผู้ป่วยมักจะใช้คือ 8 เม็ดหรือ 16 เม็ด ( 2-60 เม็ด) เนื่องจากยามีขนาดบรรจุแผงละ 8 เม็ด จึงพบว่าผู้ป่วยมักจะกินครั้งละ 1-2 แผง การกินด้วยขนาด 8-16 เม็ดนี้ เป็นช่วงไม่นานนักมักจะไม่เกิดพิษจากโบรไมด์ ผลระยะยาวต่อสภาวะจิตใจยังไม่ทราบแน่ชัด จากการเฝ้าสังเกตการเป็นเวลาหลายเดือนมีรายงานว่ามีผู้กิน dextromethorphan 1500 มก.(10 เม็ด) ในคราวเดียว จะมีอาการเหมือนวิกลจริตเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังจากกินยา จากนั้นตามด้วยอาการ ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย และนอนไม่หลับ เมื่อหยุดยาอาการเหล่านี้จะหายไป

จะทำอย่างไรเมื่อ พบว่าบุตรหลานใช้ยา MDX ในทางที่ผิดหรือเกินขนาด ถ้ากินปริมาณมากภายในหนึ่งชั่วโมง รีบนำส่ง รพ. อาจใส่สาย เพื่อช่วยล้างท้องแต่ถ้านานกว่าหนึ่งชั่วโมงมักไม่ค่อยช่วย ใช้ ผงถ่าน (activated charcoal) 1 กรัม/ น้ำหนักตัว1 กก. ผงถ่านจะจับกับ dextromethorphan ได้ดี ให้กินเป็นระยะทุก 6 ชม. อาจต้องรับตัวไว้ดูอาการใน รพ. หากกินไม่มากเพียงแค่สังเกตอาการรอให้ยาหมดฤทธิ์เอง ปรึกษากุมารแพทย์ จิตเวชเด็ก เพื่อให้คำแนะนำและรับทราบขั้นตอนในการเลิกยา ซึ่งง่ายกว่ายาเสพติดอื่น เพราะไม่ค่อยมีอาการทางกายของการอยากยา

สรุปที่นำมาเล่าวันนี้ ว่าเป็น เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพราะปัญหามีมานานแล้ว ทั้งระบบซึ่งถ้าสื่อไม่ออกมาขยายผลคงจะไม่มีการปฏิรูประบบและปลูกฝังจิต นิสัย ช่วยเหลือแนะนำในทางที่ถูกไม่ใช่กลับแนะนำไปในทางที่ผิดอย่างที่เห็นเป็น ข่าวกัน ฝากกุมารแพทย์ทุก ๆ ท่าน เภสัชกร คุณครู ผู้ปกครอง การจัดการระบบร้านขายยาและร้านเกมส์ ด้วยนะครับ ช่วย ๆ กัน


อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Reference Pictures from :
www.projectghb.org/prescription_drug.htm
www.eztest.com/shop/article.php?article_id=34
www.dmhweb.dmh.go.th/jvsk/CPSY2/HosMed3.htm
www.indiamart.com/pragatirawpharma/chemicals.htm

การเสพยาแก้ไอ เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่

การเสพยาแก้ไอ เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่

ตอนนี้คาดว่าทุกคนคงตระหนกตกใจกับข่าวที่เด็กนักเรียนซื้อยาแก้ไอจากร้านเกมส์ มาเสพ เพื่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม หรือหวังผลให้เกิดการเมาโดยไม่ต้องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเอามาใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น ไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวด เมื่อถูกครูทำโทษ(ตี)พอฟังผู้จำหน่ายกล่าวเหตุผลแล้วยิ่งรู้สึก อ่อนอกอ่อนใจ สะท้อนสภาพสังคมไทย แทนที่จะช่วยกันตักเตือนหรือวางมาตรการที่เข้มแข็งกลับส่งเสริมแนะนำไปในทางที่ผิด ที่ว่าเป็นเรื่องเก่า เพราะเดิมมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในคนไข้กลุ่มที่ติดยาแต่ไม่ค่อยจะมีเงิน หรือคนไข้จิตเวชบางกลุ่ม โดยทราบมาว่ากลุ่มผู้ป่วย หรือกลุ่มคนเหล่านี้จะใช้ยาแก้ไอน้ำสูตรที่มี Dextrometrophan Hbr มาผสมกับน้ำอัดลมดื่มกัน หลังจากที่มีการปราศระงับการใช้ยาแก้ไอที่มีสูตรโคดีอีน เพราะเป็นสารเสพติด ปกติยาตัวนี้เป็นยาแก้ไอหากกินในขนาดที่แพทย์สั่งจะช่วยในการระงับอาการไอ แต่กลุ่มผู้หัวใส ก็นำมาใช้ผสมให้มากกว่าขนาดรักษา เพื่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม (euphoria) เหมือนการเสพสุรา ซึ่งต่างจากข่าวที่ออกมาครึกโครมสองสามวันนี้ที่ใช้ยาเม็ดมาบริโภคเพื่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มในปริมาณที่มากกว่า 5-10 เม็ดขึ้นไป ซึ่งก็เข้าอีหรอบเดิมแหละครับ แต่ข่าวคราวนี้จะช่วยปลุกกระแส การตระหนักถึงปัญหาการใช้ยากลุ่มนี้ ตลอดจนการปฏิรูประบบร้านขายยาในประเทศไทยอีกครั้งก็เป็นไปได้
ราวกลางปี พศ. 2548 FDA ของอเมริกา เคยประสบปัญหาการใช้ยาแบบเดียวกันในผู้ป่วยกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นและได้ประกาศทางเว็บไซต์เผยแพร่ และกังวลกับผลกระทบจากการใช้ยาแก้ไอนี้ผิดวิธี พราะเป็นกลุ่มยาที่สามารถหาซื้อง่าย และจัดเข้ากลุ่มยาบรรจุเสร็จ สามารถซื้อขายได้โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ หลังจากมีวัยรุ่นเสียชีวิตราว 5 ราย ด้วยการใช้ยา dextrometrophan เกินขนาดในรูปผงบรรจุแคปซูล
ปกติยาชนิดนี้ ใช้เป็นยาแก้ไปประเภทที่กดศูนย์การไอ หรือเราเรียกว่า cough suppressant ซึ่งไม่ค่อยนิยมใช้ในเด็กเล็ก เพราะจะทำให้เสมหะไม่ระบายออกหากกดอาการไอแต่สามารถใช้ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ในขนาดรักษาได้โดยปลอดภัย แต่เมื่อมีการใช้ยาเกิดขนาดรักษา เช่นผู้ที่มุ่งหวังมาใช้เสพ เพื่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มซึ่งมักต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่าปกติ อาจทำให้เกิด อาการเมา เคลิบเคลิ้ม สุขสบาย หากสูงมาก ๆ หรือบริโภคเป็นเวลานาน ๆ จะสามารถทำลายสมอง ชัก หมดสติ อาการทางจิต หรือการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ การนำมาใช้ผิดวิธีนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เดิมเคยมีรายงานมานานแล้ว และรูปแบบการใช้ยังประยุกต์ใช้ ตั้งแต่ยาแก้ไอน้ำ(ผสมน้ำอัดลม) เม็ด หรือนำมาบดเป็นผงใส่ capsule และมีการขายอย่างแพร่หลายให้ผู้ที่เสพสารเสพติดในหลาย ๆ ประเทศ และเนื่องจากสามารถซื้อขายได้ง่ายทำให้เกิดการแพร่กระจายการใช้ในรูปแบบนี้ ซึ่งพบปัญหาในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะอเมริกา
Dextrometrophan หรือชื่อย่อ DXM การใช้แก้ไอในขนาดที่แพทย์สั่งจะมีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงน้อย แต่การนำมาใช้ในทางที่ผิดไม่ว่าจากการแนะนำต่อ หรือผู้ป่วยค้นพบผลการเคลิ้มสุขได้ด้วยตนเองนั้น เราเรียกว่าการใช้ในทางที่ผิด หรือ “abuse” ทางโครงสร้างยานั้น มีความใกล้เคียงกันกับยาโคเดอีน ค่อนข้างมาก ต่างกันเล็กน้อย แต่ไม่กดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่นเดียวกับยาสูตรโคดีอีน

กลไกการออกฤทธิ์ นั้น DMX เป็น dextro isomer คล้ายกันกับตัวต้นแบบของโคดีอีน ซึ่งก็คือ levorphanol แต่โมเลกุลหมุนบิดไปด้านขวา ทำให้กลไกการออกฤทธิ์ต่างกันไป ตัวยาจะไประงับการไอโดยออกผลที่ศูนย์ควบคุมการไอที่สมองส่วนเมดดัลลา ซึ่งอยู่ในบริเวณแกนสมอง โดยไปเพิ่ม threshold (กำแพง)ของศูนย์ควบคุมการไอ ทำให้ไอน้อยลง (ออกฤทธิ์ที่ opiate alpha receptor) แต่จะไม่มีฤทธ์แบบ opiate หรืออนุพันธฺฝิ่น ซึ่งกดการไอ ระงับอาการปวด กดการหายใจ และเสพติด ในขนาดที่แพทย์แนะนำให้ใช้ ยาจะโดซึมทางลำไส้ได้ดีออกฤทธิ์เร็วภายใน ครึ่งชั่วโมงหลังกิน เมื่อเข้าสู่ร่างการจะถูกเอนไซม์ในตับเปลี่ยนรูป (Cyp P450 isoenzyme 2D6) ให้เป็น dextrophan ซึ่ง active และสามารถจับและยับยั้งที่ NMDA Receptors ทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข จนถึงอาการประสาทหลอน กระตือรือร้น เหมือนการออกฤทธิ์จากยา Phencyclidine ที่เป็นยาจิตเวช และอาจออกฤทธิ์ที่ serotonin receptor เหมือนกลุ่มยา LSD ที่เป๋นสารเสพติดนิยมกันในสมัยก่อน ดังกล่าวจะเห็นว่าผลการออกฤทธ์ จะออกแตกต่างกันไป เพราะ เอ็นไซม์ Cyp P450 isoenzyme 2D6 ที่นำมา metabolite ให้เกิดสาร Active metabolite นั้น มีส่วนเก่ยวข้องกับพันธุกรรม เพราะสร้างออกมาไม่เท่ากัน ทำให้สาร dextrophan ที่ถูกเปลียนโดยตับนั้นสร้างออกมาแปรผันกันไป ถ้า metabolite ยาได้มาก(มี เอนไซม์มาก) ฏ็จะมีอาการได้มากและเร็วกว่า ขนาดของยาที่ใช้ได้โดยปลอดภัยนั้น ในเด็กแนะนำให้ใช้ Dextrometrophan Hbr (Romilar) 1mg/kg/day tid-qid (15 mg/tab) ไม่แนะนำให้ใช้ในการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในกรณีที่มีเสมหะ หรือไอมีเสมหะ เพราะจะกดการไอ ยาแก้ไอน้ำมักมีตัวยาอยู่ 10mg/5 ml(หรือ 1 ช้อนชา) ยาอมจะมี 5mg/เม็ด (ซึ่งผมไม่เคยใช้)
ขนาดที่แนะนำโดยฉลากยา ขนาดใช้ยาในเด็ก : อายุต่ำกว่า 2 ปี : ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น , อายุ 2-5 ปี : รับประทานยาน้ำเชื่อมครั้งละค่อน (1/4)-1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อมีอาการไอ ,อายุ 6-12 ปี: รับประทานยาน้ำเชื่อมครั้งละครึ่ง (1/2)-1 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมงหรือยาเม็ด ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมงตามอาการที่เป็น สำหรับยาอม ให้อมครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง
ขนาดใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 12 ปีและผู้ใหญ่ รับประทานยาน้ำเชื่อมครั้งละ 1 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมงหรือ ยาเม็ด ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมงตามอาการที่เป็น สำหรับยาอมให้อมต่อเนื่อง 2 เม็ด ทุก 4-8 ชั่วโมง ขนาดที่ปลอดภัยใช้ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่คือ 15-30 มก. แต่ผู้ที่ใช้ในทางที่ผิดมักต้องใช้ในขนาดสูง คือราว 360 มก.(ตั้งแต่ 3-10 เม็ดขึ้นไป ต่อครั้ง) โดยสามรถทำให้เกิดอากรเคลิ้มสุข(euphoria) ไปจนถึง อาการประสาทหลอน คล้ายกับผลของยา phencyclidine หรือ ketamine (ยา K) และจะออกฤทธิ์ยาวประมาณ 6 ชม. จึงจะหมดฤทธิ์ ไปเอง พบรายงานหากใช้ในขนาดสูง อาจทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดภาพหลอน ทำร้ายผู้อื่น ชัก หรือเสียชีวิตได้ อาการสังเกตุของการได้รับพิษเฉียบพลันจากการได้รับ DMX เกินขนาด ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงนอน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ม่านตาขยาย พูดไม่ชัด เคลิบเคลิ้ม หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะไม่ออก ประสาทหลอน หรือ กระวนกระวาย สั่นเทิ้ม ชัก ปวดศีรษะ
เซลสมองอาจถูกทำลายถาวร หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่จะไม่มีผลกดการหายใจ และภาวะรูม่านตาเล็ก เหมือนอนุพันธ์ฝิ่น หากใช้ในปริมาณมากมักจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อน ถ่ายเทได้ไม่สะดวกหรือร่วมกับการออกกำลังกายหนัก ๆ ในบางครั้งตัวยาจะผสมยาแก้แพ้เช่น CPM อยู่ประมาณ 2-4 mg ก็จะส่งเสริมให้เกิดอาการง่วงซึมมากขึ้น
Dextromethorphan เป็นที่รู้จักดีในหมู่วัยรุ่นในหลาย ๆ ประเทศ ว่าเป็นยาที่สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยมีชื่อเรียกที่เป็นคำเฉพาะในหมู่ผู้ใช้ ได้แก่ red devil, poor man’s PCP, DXM, CCC, robo, และ Dex พบว่ามีข้อมูลมากมายในเว็บไซต์กลับแนะนำให้ใช้ยาไปในทางที่ผิด ใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดฤทธิ์เคลิ้ม และมีขายทางอินเตอร์เนตอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยาหาง่าย ควบคุมยาก จากประสบการณ์ที่ได้รับการบอกเล่ามา เมื่อครั้งไปฝึกงานที่อเมริกา แพทย์ที่นั่นกล่าวว่าหากโรงเรียนค้นพบว่าเด็กพกยากลุ่มนี้ ร่วมกับพฤติกรรมชวนสงสัย เช่นพบยาในตู้เก็บของส่วนตัว ในปริมาณมากกว่าปกติ จะถูกจับตามองเป็นพิเสษ แต่ก้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง เพราะเป็นเรื่องปกติที่บางครั้งผู้ปกครองอาจพบว่าเด็กพกยานี้ เห็นในห้องนอน ก็อาจเป็นเรื่องปกติทั่วไปได้ การใช้ยานี้เป็นเวลานาน ๆ นอกจากผลจากยา dextrophan ซึ่งเป็นผลจาการเมตาโบไลต์แล้ว ยังสามารถเกิดพิษจกากรสะสมของเกลือไฮโดรโบรไมด์ (HBr) ได้ เพราะยามักถูกเตรียมในรูปนี้ แต่อาการพิษน้อยกว่า เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย จนถึงหมดสติ หยุดยาจะหายไป
จากการสำรวจในต่างประเทศพบว่าขนาดที่ผู้ป่วยมักจะใช้คือ 8 เม็ดหรือ 16 เม็ด (ค่าต่ำสุด-สูงสุด= 2-60 เม็ด) เนื่องจากยามีขนาดบรรจุแผงละ 8 เม็ด จึงพบว่าผู้ป่วยมักจะกินครั้งละ 1-2 แผง การกินด้วยขนาด 8-16 เม็ดนี้ เป็นช่วงไม่นานนักมักจะไม่เกิดพิษจากโบรไมด์ ผลระยะยาวต่อสภาวะจิตใจยังไม่ทราบแน่ชัด จากการเฝ้าสังเกตการเป็นเวลาหลายเดือนมีรายงานว่ามีผู้กิน dextromethorphan 1500 มก.(10 เม็ด) ในคราวเดียว จะมีอาการเหมือนวิกลจริตเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังจากกินยา จากนั้นตามด้วยอาการ ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย และนอนไม่หลับ เมื่อหยุดยาอาการเหล่านี้จะหายไป
จะทำอย่างไรเมื่อ พบว่าบุตรหลานใช้ยา MDX ในทางที่ผิดหรือเกินขนาด ถ้ากินปริมาณมากภายในหนึ่งชั่วโมง รีบนำส่ง รพ. อาจใส่สาย เพื่อช่วยล้างท้องแต่ถ้านานกว่าหนึ่งชั่วโมงมักไม่ค่อยช่วย ใช้ ผงถ่าน (activated charcoal) 1 กรัม/ น้ำหนักตัว1 กก. ผงถ่านจะจับกับ dextromethorphan ได้ดี ให้กินเป็นระยะทุก 6 ชม. อาจต้องรับตัวไว้ดูอาการใน รพ. หากกินไม่มากเพียงแค่สังเกตอาการรอให้ยาหมดฤทธิ์เอง ปรึกษากุมารแพทย์ จิตเวชเด็ก เพื่อให้คำแนะนำและรับทราบขั้นตอนในการเลิกยา ซึ่งง่ายกว่ายาเสพติดอื่น เพราะไม่ค่อยมีอาการทางกายของการอยากยา
สรุปที่นำมาเล่าวันนี้ ว่าเป็น เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพราะปัญหามีมานานแล้ว ทั้งระบบซึ่งถ้าสื่อไม่ออกมาขยายผลคงจะไม่มีการปฏิรูประบบและปลูกฝังจิตนิสัย รช่วยเหลือแนะนำในทางที่ถูกไม่ใช่กลับแนะนำไปในทางที่ผิดอย่างที่เห็นเป็นข่าวกัน ฝากกุมารแพทย์ทุก ๆ ท่านด้วยนะครับ

สรุปที่นำมาเล่าวันนี้ ว่าเป็น เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพราะปัญหามีมานานแล้ว ทั้งระบบซึ่งถ้าสื่อไม่ออกมาขยายผลคงจะไม่มีการปฏิรูประบบและปลูกฝังจิตนิสัย รช่วยเหลือแนะนำในทางที่ถูกไม่ใช่กลับแนะนำไปในทางที่ผิดอย่างที่เห็นเป็นข่าวกัน ฝากกุมารแพทย์ทุก ๆ ท่าน เภสัชกร คุณครู ผู้ปกครอง การจัดการระบบร้านขายยาและร้านเกมส์ ด้วยนะครับ ช่วย ๆ กัน

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, พบ, บธบ.
SAKDA ARJ-ONG, MD, BBA, MS.ICT
PHD program of clinical epidemiology,
Pediatrist, Pediatric Cardiologist & Intervention Ped.Cardiology
Family physicians, Emergency physicians.
Emergency Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University