วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

'เฟซบุ๊ก' ทำผู้เล่น จิตตก! เห็นคนอื่นสุขกว่าจากการเสพภาพถ่าย

#'เฟซบุ๊ก' ทำผู้เล่น จิตตก! เห็นคนอื่นสุขกว่าจากการเสพภาพถ่าย #
X-Ray ข่าวจากช่วง พบหมอรามา 25 มกราคม 2555 ทาง TrueVision 80

​ผลวิจัยชี้ เล่น "เฟซบุ๊ก" มาก ทำให้จิตตก เหตุเห็นคนอื่นโพสต์รูปแสนสุข ทำให้คิดไปเองว่าตัวเองแย่กว่า....
​สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 18 ม.ค. ว่า ทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยยูทาห์วัลเลย์ เผยผลการศึกษาล่าสุด ระบุว่า ผู้ใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์กลุ่มใหญ่ มีความเชื่อว่าบุคคลอื่นมีความสุขมากกว่าที่ตนเป็นอยู่ ซึ่งนักสังคม วิทยาอธิบายไว้ว่าการโพสต์รูปภาพเป็นต้นตอของสาเหตุดังกล่าว
 ซึ่งการโพสต์รูปภาพของกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่ในแวดวง เพื่อนนั้น ​ส่วนใหญ่จะเป็นภาพใบหน้าเปื้อนยิ้ม หรือออกไปทานข้าวมื้อพิเศษ เมื่อถ่ายทอดออกไปแล้ว ทำให้ผู้ที่ พบเห็นรู้สึก ต่ำต้อยด้อยค่า เพราะว่าไม่ได้มีช่วงเวลาพิเศษพร้อมๆ กับบุคคลอื่นเขา
 อย่างไรก็ดี จากการสอบถาม บุคคลที่อยู่ใน ช่วง อุดมศึกษานั้น มีความเชื่อว่า "เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ มีความสุขมากกว่าตัวเอง" เช่นเดียวกับที่ผลวิจัย ออกมาโดยกลุ่มที่ให้ ​ข้อมูลนั้น 95 เปอร์เซ็นต์ สมัครใช้งาน "เฟซบุ๊ก" มาแล้วราว 2 ปีครึ่ง และใช้เวลาท่องอยู่หน้าจอ เพื่อสอดส่องและเล่นในเว็บสังคมออนไลน์เฉลี่ยวันละเกือบ 5 ชั่วโมง

วิเคราะห์ประเด็นข่าว

ปัจจุบัน social network เป็นที่นิยม ใช้เป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แต่ในบางครั้งอาจเป็นที่ที่ผู้ใช้ใช้เป็นพื้นที่ในการระบายความรู้สึกที่อึดอัดคับข้องใจถ่ายทอดให้กลุ่มเพื่อนหรือคนอื่นๆรับทราบซึ่งถ้าแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆจะมีข้อมูลที่ออกไปสองมุมมองคือมุมมองทางบวกและทางลบ ส่วนผู้รับหรือเสพสื่อที่รับนั้นกลับวิเคราะห์ว่าเป็นจุดที่ทำให้เกิดปัญหาเพราะการเสพและรับสื่อเหล่านี้นั้นต้องอาศัย พื้นฐานอารมณ์ของผู้ใช้ บุคนิสัย ความมีเหตุมีผล ทัศนคติ มุมมองส่วนบุคลและประสบการณ์ที่สั่งสมมา มาเป็นตัวช่วย ดังนั้นสื่อไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบที่รับมาก็ตามหากผู้ใช้มีภูมิต้านทานด้านความมั่นคงของอารมณ์และเหตุผลแล้ว ย่อมไม่เกิดปัญหาขึ้น แต่ถ้าสื่อเหล่านี้ตกไปให้ผู้ที่มีปัญหาเสพสื่อเหล่านี้เช่นตนเองมีบุคลิกที่ซึมเศร้า มองโลกด้านลบ หากเห็นภาพคนอื่นโพสต์อริยาบท ความคิดแนวปัจเจคซึ่งอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้องหรือภาพที่มีความสุขหรือโพสต์ข้อความชักชวนโน้มน้าวไปทางลบมักมีอารมณ์คล้อยตาม เกิดอาการซึมเศร้า จิตตกตามไปด้วย ดังนั้นตัวสื่อหรือเทคโนโลยีเองนั้นไม่ได้เป็นตัวปัญหาเทคโนโลยีหรือสื่อเปรียบเหมือนเหีียญสองด้าน ถ้ารู้จักใช้สร้างสรรค์ ให้เกิดประโยชน์ก็จะสร้างประโยชน์มากนานับประการ ดังนั้นควรมารณรงค์สร้างจิตสำนึกทั้งผู้ส่งและผู้รับให้เกิดภูมิต้านทานในจิตใจหรือวุฒิภาวะในเชิงบวกกันดีกว่าจะไปแก้ที่สื่อ ส่วนสื่อเองควรต้องมีระบบระเบียบในการควบคุมให้อยูในเกณฑ์มาตรฐานก็จเป็นแรงเสริมเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ลงได้มากทีเดียวครับ

อาจารย์นายแพทย์ ศักดา อาจองค์, MD,BBA, MS.ICT,MA(Information Science)
กุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dr.sakda@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น